ผลของโปรแกรมธรรมะบำบัดและการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีต่อความเครียด ในผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • มธุรส สว่างบำรุง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

โปรแกรมธรรมะบำบัด, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, ความเครียด, ผู้สูงอายุ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมกับกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมธรรมะบำบัด ก่อนและหลังได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมธรรมะบำบัด กลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60-85 ปี ซึ่งมี 4 กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบเจาะจง จำแนกกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม รวม 24 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามความเครียดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาทดสอบ t-test for dependent, t-test for independent และ F-test  ผลวิจัยพบว่า ช่วงหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1) กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมธรรมะบำบัดกับกลุ่มควบคุม มีคะแนนความเครียดโดยเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) กลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับกลุ่มควบคุมมีคะแนนความเครียดโดยเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 มีคะแนนความเครียดโดยเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ทั้ง 2 วิธีการนี้จึงส่งผลดีต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในด้านความเครียดและสามารถปรับตัวเผชิญความจริงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างสมดุลชีวิต

Author Biography

มธุรส สว่างบำรุง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

ภูดิท เดชาติวัฒน์. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดอัตราการตายก่อนวัยอันควรแนว“เวชศาสตร์วิถีชีวิต”. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 3] เข้าถึงได้จาก: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/183512bc-a33a-ec11-80fa-00155db45613

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์. ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;16(2):78-89.

อารมณ์ ร่มเย็น. ผลของการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(3): 301-14.

ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. สุขภาพจิตผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.ย. 30] เข้าถึงได้จาก: https://www.nakornthon.com/article/detail/

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวร. การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่. สมุทรสาคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด; 2564.

Halaweh H, Dahlin-Ivanoff S, Svantesson U, Willén C. Perspectives of Older Adults on Aging Well: A Focus Group Study. J Aging Res. 2018 Nov 4;2018:9858252. doi: 10.1155/2018/9858252.

Lazarus RS, Folkman S. Stress, Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company; 1984.

Gladding ST. Counseling a comprehensive profession. New Jersey: Prentice-Hall; 2000.

Kahn A. A Buddhist approach to stress management from the perspective of dependent origination (DOSM). The Journal Of International Buddhist Studies College 2021;6(2): 32-48.

Chin B, Slutsky J, Raye J, Creswell JD. Mindfulness Training Reduces Stress At Work: A Randomized Controlled Trial. Mindfulness (N Y). 2019 Apr;10(4):627-638. doi: 10.1007/s12671-018-1022-0.

ฐิติยา เนตรวงษ์, รัชฎาพร ธิราวรรณ. การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 2562;15(1):50-62.

ฤทธี เทพไทยอำนวย. ผลการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการและการบันเทิงที่มีต่อระดับความเครียดของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ วัดม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 2560;11(2):142-55.

World Health Organization. WHOQOL measuring quality of life. [online] 1997[cited 1997 Dec 11]. Available from: http://www.who.int/mental_health/media/68.pdf

ภัทรภร แคว้นคอนฉิม, พรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคมระดับอำเภอของเขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 2563;21(2):63-79.

Dami ZA, Setiawan I, Sudarmanto G, Lu Y. Effectiveness Of group counseling on depression, anxiety, stress and components of spiritual intelligence in student. International Journal of Scientific & Technology Research 2019;8(9):236-43.

พิศุทธิ์ ชนะรัตน์. ผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะเริ่มต้นที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพหวายอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(1):217-30.

ศิริลักษณ์ วรไวย์, พระอธิการวงศ์แก้ว วราโภ, ภาคภูมิ อินทร์ม่วง. การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยหลักธรรมโอสถของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28 (ฉบับเพิ่มเติม 2):S90-S100.

Tyson PD, Pongruengphant R. Buddhist and western perspectives on suffering, stress, and coping. Journal of Religion and Health. 2007;46(3):351-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07