การศึกษาระดับสุขภาวะแบบองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรณี
  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • บังอร ปรอยโคกสูง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองชัยภูมิ

คำสำคัญ:

สุขภาวะแบบองค์รวม, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การมีสุขภาวะแบบองค์รวมที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุได้ การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะแบบองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 262 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับสุขภาวะแบบองค์รวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.73, SD=0.71) เมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมดอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านสุขภาวะทางสังคม (Mean=3.86, SD=0.71) ด้านสุขภาวะทางปัญญา (Mean=3.77, SD=0.70) ด้านสุขภาวะทางจิตใจ (Mean=3.57, SD=0.62) ด้านสุขภาวะทางกาย (Mean=3.56, SD=0.71) และระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=95.45, SD=13.90) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=23.65, S.D.=2.93) ด้านจิตใจอยู่ในระดับดี (Mean=23.02, SD=3.87) ด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=11.44, SD=2.14) ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=29.93, SD=5.37)

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการวางแผนสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมให้อยู่ในระดับที่ดีมาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดีมากขึ้นต่อไป

Author Biographies

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรณี

อาจารย์

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บังอร ปรอยโคกสูง, ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองชัยภูมิ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์; 2566.

วิชนี คุปตะวาทิน, แมน วาสนาพงษ์, พรทิพย์ ขุนดี, รัชตา มิตรสมหวัง. สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2562;4(พิเศษ):444-50.

จิรฐา อัคนิทัต, ดารุณี เหลืองวรกิจ, วิภารัตน์ ชมดง. สุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทย: โอกาสสำคัญทางการตลาด. วารสารเซนต์จอห์น. 2563;23(32):87-107.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. นนทบุรี: สหพัฒนไพศาล; 2550.

ประเวศ วะสี. สุขภาวะที่สมบูรณ์ สุขภาวะ 4 x 4 = 16. [อินเทอร์เน็ต]. 2551. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 25]. เข้าถึงได้จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/5694

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2553.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประชากรทะเบียนราษฎร์ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565 ชัยภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-y60up/changwat?year=2022&cw=36 .

กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2566-2570 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chaiyaphum.go.th/page_other/Plan_cyp2561-2564.php

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddle River, New Jersey: Pearson Education International; 2010.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. แผนพัฒนาสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: https://cpho.moph.go.th/?page_id=13541

บุญซื่อ เพชรไทย, ธนัสถา โรจนตระกูล. แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi. 2565;7(7):288-98.

บุญชิน เสาวภาภรณ์, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์, วรางค์ภรณ์ ไตรติลานันท์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557;9(1):47-59.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ, ปานเพชร สกุลคู. การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2564;11(1):27-39.

จิรภา วิลาวรรณ, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, ยุวดี บุญเนาว์,

พัทรินทร์ บุญเสริม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):181-95.

โกศล สอดส่อง. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนคร พระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2561;6(1):162-175.

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ปาริชาต ญาตินิยม, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์. โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ: วิจัยแบบผสมผสานวิธี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2566;41(2):1-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04