สถานการณ์ ผลกระทบสุขภาพ และการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ต่อบริการจัดส่งอาหารถึงที่ในความปกติใหม่ จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ศุภิกา วงศ์อุทัย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ผลกระทบสุขภาพ, สุขาภิบาลอาหาร, บริการจัดส่งอาหารถึงที่, ความปกติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบสุขภาพ เจาะจงผู้บริโภค 15 คน ผู้ประกอบการร้านอาหาร 11 คนและผู้ให้บริการขนส่งอาหารถึงที่ 11 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 2) ตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลร้านอาหารเจาะจงร้านอาหารที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการส่งอาหารในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ร้านอาหารในมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า 3 แห่ง ร้านไก่ทอด 3 แห่งและร้านคาเฟ่ (เครื่องดื่ม) 3 แห่ง และประเมินสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ให้บริการส่งอาหารถึงที่ โดยใช้แบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

ผลวิจัยพบว่า สถานการณ์ของผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยวิถีชีวิตในความปกติใหม่ตอบสนองเรื่องความสะดวก สบายเพิ่มขึ้นและมีความเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ให้บริการส่งอาหารถึงที่ได้ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลและผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากการเคลื่อนไหวน้อย ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ให้บริการส่งอาหารถึงที่สามารถสร้างรายได้จากการจัดส่งอาหารถึงที่แต่ต้องมีการควบคุมมาตรฐานการปนเปื้อนอาหารตั้งแต่การผลิตไปถึงการส่งอาหาร ด้านผลกระทบสุขภาพผู้ประกอบการ คือการเจ็บปวดด้วยอาการต่างๆ ขณะปฏิบัติงาน ผู้ให้บริการขนส่งอาหารถึงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรขณะบริการส่งอาหาร ในส่วนการประเมินการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลร้านอาหารมีข้อที่ต้องปรับปรุง คือมีหลักฐานผ่านการอบรมทุกคนตามหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารและผลการตรวจประเมินสุขลักษณะส่วนบุคคลข้อที่ต้องปรับปรุง คือมีหลักฐานการตรวจสุขภาพประจำปี/วัคซีน ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านสุขาภิบาลอาหารขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนยุคใหม่และยกระดับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับที่สูงขึ้น

Author Biography

ศุภิกา วงศ์อุทัย, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

อาจารย์

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง.[อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 16] เข้าถึงจาก: https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49

ณัฏวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 ของ ประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า. 2564; 4(1):33-48.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจาก โรค COVID-19 เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

สุรชัย โชคครรชิตไชย. โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563 (บรรณาธิการแถลง). วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563; 10(3):ง-จ.

พชร เศรษฐวัชระ, ศุภวัฒนา วงศ์ธนวสุ. สภาพการณ์ ผลกระทบและมาตรการของรัฐต่อบริการจัดส่ง อาหารถึงที่ในสภาวะแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2564; 12(1):199-213.

เพจเหยี่ยวข่าวภูเก็ต. กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 16] เข้าถึงจาก: https://www.facebook.com/NewshawkPhuket

ไทยรัฐ (ออนไลน์) .โควิด-19 ดันคนขับแกร๊บหน้าใหม่โตพรวด [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [ เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 16] เข้าถึงจาก: https://www.thairath.co.th/business/economics/1835113

แทนคุณ คุณเงิน.การบริการจัดส่งอาหารออนไลน์ในประเทศไทย.[อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 16] เข้าถึงจาก: https://law.kku.ac.th/wp/?p=12920

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข. แบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร “ สถานที่จำหน่ายอาหาร”(ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561) [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 15] เข้าถึงจาก: https://foodsan.anamai.moph.go.th/web-upload/13x34cba8a8c311038000343e8ab441d5ff/202104/m_news/35202/204119/file_download/9a4968709934f1dd45c5668181b2a10f.pdf

ศุภิกา วงศ์อุทัย, อุไรวรณ ไกรนรา มูรานิชิ. อันตรายจากสารพิษที่มาจากอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็งพร้อมอุ่นรับประทานบรรจุภัณฑ์พลาสติกเมลามีน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2562; 42(2):26-43.

ศรัญญา ปานเจริญ, วงอร พัวพันสวัสดิ์. ความเสี่ยงของแรงงานในดิจิทัลแพลตฟอร์มเบื้องหลังอาชีพพนักงานส่งอาหาร.วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 9(3):132-44.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. รู้ยัง ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องอบรมสุขลักษณะก่อน 16 ธ.ค. ฝ่าฝืนมีโทษปรับ [อินเตอร์เน็ต].2563. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 9] เข้าถึงจาก: https://www.hfocus.org/content/2020/11/20509

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-05