ปัจจัยคัดสรรของผู้ดูแลที่มีต่อการชักซ้ำของเด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • สุณีย์ ชื่นจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นิติบดี ศุขเจริญ สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การชักซ้ำ, เด็กเล็ก, ปัจจัยของผู้ดูแล, PRECEDE Model

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรของผู้ดูแลที่มีผลต่อการชักซ้ำของเด็กเล็ก ตามแนวคิดแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ PRECEDE Model ของ Green & Kreuter ที่มีผลต่อการชักซ้ำของเด็กเล็ก

วิธีการศึกษา: เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แบบสอบถาม 2 ชุด แบบสอบถามชุดที่ 1 ประกอบด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล พฤติกรรมการป้องกันอาการชัก และความมั่นใจในการป้องกันอาการชัก ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ความสะดวกในการเข้ารับบริการ และการดูแลกิจวัตรประจำวัน โดยการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ วิธี Stepwise เพื่อทำนายปัจจัยที่มีผลต่ออาการชักซ้ำ

ผลการศึกษา: มีตัวแปรทำนาย จำนวน 4 ตัว ได้แก่ การดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก พฤติกรรมการป้องกันอาการชัก ระยะทางจากบ้านมายังโรงพยาบาลที่รักษาประจำ และระดับการศึกษา สามารถทำนายจำนวนครั้งของการชักซ้ำของเด็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีความสามารถในการพยากรณ์ได้มากถึงร้อยละ 90

สรุปผลการศึกษา: เมื่อผู้ดูแลมีการดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็กไม่เหมาะสม มีระดับการศึกษาน้อย และมีพฤติกรรมการป้องกันอาการชักที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งระยะทางของบ้านที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล มีโอกาสทำให้ปริมาณการชักซ้ำของเด็กเล็กมากขึ้น

Author Biographies

สุณีย์ ชื่นจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อาจารย์

นิติบดี ศุขเจริญ, สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ

References

ตะวันรัตน์ สกุลรุ่งจรัส. ผลกระทบจากโรคลมชักในเด็ก: มิติการป้องกันและดูแลรักษา. วารสารสภาการพยาบาล. 2561; 33(4):5-18.

จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์. ภาวะชักจากไข้ในเด็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559; 23(4): 1-20.

สมพนธ์ ทัศนิยม. แนวทางในการป้องกันชักซํ้าจากไข้สูงในเด็กที่เคยเป็นไข้ชักมาก่อน ฉบับ 2010. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2553; 25(ฉบับพิเศษ): 3-6.

Green LW, Krueter MW. Health Promotion Planning: An Educational and Ecological Approach. 3rd ed. New York: McGraw Hill; 1999.

นรลักษณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. 2562. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย; 12(1):38-48.

Polit DF, Beck CT. Essential of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2010.

ณัฐนรี อนุกูลวรรธกะ, พัชราภรณ์ อารีย์, สุธิศา ล่ามช้าง. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560; 44(4):1-12.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th ed. New York: Pearson; 2010.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559; 13(3):119-28.

คณิตา อิสระภักดีรัตน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2565; 19(2):155-67.

Paschal AM, Mitchell QP, Wilroy JD, Hawley SR, Mitchell JB. Parent health literacy and adherence-related outcomes in children with epilepsy. Epilepsy Behav. 2016 Mar;56:73-82. doi: 10.1016/j.yebeh.2015.12.036.

Freedman RB, Jones SK, Lin A, Robin AL, Muir KW. Influence of parental health literacy and dosing responsibility on pediatric glaucoma medication adherence. Arch Ophthalmol. 2012 Mar;130(3):306-11. doi: 10.1001/archopthalmol.2011.1788.

Yin HS, Mendelsohn AL, Wolf MS, Parker RM, Fierman A, van Schaick L, et al. Parents' medication administration errors: role of dosing instruments and health literacy. Arch Pediatr Adolesc Med. 2010 Feb;164(2):181-6. doi: 10.1001/archpediatrics.2009.269.

สร้อยนภา ใหมพรม, วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2563; 21(2): 269-82.

วิไลยวัลน์ พนาลิกุล. ผลการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กชักจากไข้สูงโดยใช้โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2563; 3(2):44-55.

รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ. พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่ชักจากไข้สูง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561; 35(1):40-6.

ธนัญญา เณรตาก้อง, ศรีมนา นิยมค้า, สุธิศา ล่ามช้าง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัวในครอบครัวเด็กที่มีอาการชักซ้ำ. พยาบาลสาร. 2564; 48(3): 318-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-11