ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • กมลรัตน์ ทองสว่าง กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • กาญจนา สุขบัว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • บังอร ปรอยโคกสูง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ภาวะอ้วนลงพุง, กลุ่มวัยทำงาน

บทคัดย่อ

โรคอ้วนลงพุงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงานอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน ที่มารับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 350 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression 

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงานอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=1.929, 95% CI=1.02-3.64) การรับรู้ประโยชน์การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=3.465, 95% CI=1.89-6.34) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=2.001, 95% CI=1.12-3.57) ซึ่งปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายโอกาสเกิดภาวะอ้วนลงพุง ได้ร้อยละ 21.6

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการวางแผนส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง การรับรู้ประโยชน์การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง และพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ให้แก่ประชากรในกลุ่มวัยทำงาน

Author Biographies

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

อาจารย์

กมลรัตน์ ทองสว่าง, กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

กาญจนา สุขบัว, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บังอร ปรอยโคกสูง, ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองชัยภูมิ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

ศรัญญา ทองทับ. คู่มือลดพุง ลดโรค. กรุงเทพฯ: เครือข่ายคนไทยไร้พุง โครงการส่งเสริมการรณรงค์และขยายผล ศูนย์เรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงต้นแบบ, สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2559.

World Health Organization. Obesity and Overweight [Internet]. World Health Organization. WHO; 2021 [cited 2023 May 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

วุชธิตา คงดี. สถานการณ์ “โรคปัจจุบัน” ของกลุ่มคนวัยทำงานใน “โลกปัจจุบัน” [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก https://www.ohswa.or.th/17675458/health-promotion-for-jorpor-series-ep2

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2557.

Becker MH. The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs. 1974;2:324-508. doi: 10.1177/109019817400200407

ภัทราพร ชูศร, ภัทระ แสนไชยสุริยา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงในวัยทำงาน (15-59 ปี) อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(2):26-35.

Bachrun E, Murti B, Wijaya M, Sulaeman ES. Influential Factors on Preventive Behaviours of Risk Factors for Adults’ Metabolic Syndrome in Ponorogo, East Java, Indonesia. Proceeding of the 2nd International Conference Health, Science and Technology (ICOHETECH). 2021; 6-9.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเฝ้าระวัง [อินเทอร์เน็ต]. ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/nutri1859/index?year=2022

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. ระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูล 43 แฟ้ม (Health Data Center) [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก http://cpho.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปจำนวนข้อมูลผู้ป่วยนอก ของ รพสต. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มิ.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

so_report.php?id=06c37818472cadb8a40faa8732bde66a&tb_name=service

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

Tabachnick BG, Fidell LS. Using multivariate statistics (6th ed.). Boston: Allyn & Bacon; 2012.

อุษณีย์ วรรณาลัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาวะสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของวัยรุ่นในจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(ฉบับเพิ่มเติม 3):S441-S453.

Kasl SV, Cobb S. Health behavior, illness behavior, and sick role behavior. I. Health and illness behavior. Arch Environ Health. 1966 Feb;12(2):246-66. doi: 10.1080/00039896.1966.10664365.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2558;10(2):55-65.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559;5(2):33-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-25