ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของสตรีตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, วัคซีนโควิด-19, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, สตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรบทคัดย่อ
กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ เมื่อติดเชื้อแล้วพบว่ามีอาการรุนแรง ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากแม่ จึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อลดความรุนแรงของโรค แต่พบปัญหาการได้รับการฉีดวัคซีนยังต่ำ การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 371 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยลอจิสติกแบบมัลติโนเมียล
ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ในครอบครัว ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ การได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้อุปสรรค มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของสตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยสามารถทำนายการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ได้ร้อยละ 35 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งข้อจำกัดทางด้านร่างกาย เช่น กำลังตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัว เป็นต้น และกังวลด้านความปลอดภัยของวัคซีน เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร มีความลังเลในการตัดสินใจฉีดวัคซีน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบ และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรเพิ่มขึ้น เพื่อลดความสับสนของข้อมูล
References
กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf
Delahoy MJ, Whitaker M, O'Halloran A, Chai SJ, Kirley PD, Alden N, et al. Characteristics and Maternal and Birth Outcomes of Hospitalized Pregnant Women with Laboratory-Confirmed COVID-19 - COVID-NET, 13 States, March 1-August 22, 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2020 Sep 25;69(38):1347-1354. doi: 10.15585/mmwr.mm6938e1.
กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การวิเคราะห์สถานการณ์การตายมารดาไทยรอบ 5 เดือนหลังประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2564-S/IDC1_6/opdc_2564_idc1-6_25.pdf
กรมอนามัย. การดูแลสตรีตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: http://phrae.go.th/covid/img/new/new270363.pdf
Ellington S, Strid P, Tong VT, Woodworth K, Galang RR, Zambrano LD, et al. Characteristics of Women of Reproductive Age with Laboratory-Confirmed SARS-CoV-2 Infection by Pregnancy Status - United States, January 22-June 7, 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2020 Jun 26;69(25):769-775. doi: 10.15585/mmwr.mm6925a1.
กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การให้บริการวัคซีนโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard-vaccine.moph.go.th/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดเชียงใหม่ ประจำวันที่ 18 มกราคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/chiangmaihealth/photos/a.108292647194644/
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์; 2553.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, Inc; 1977.
Kumari A, Anand S, Vidyarthi A. Effects of COVID-19 during pregnancy on maternal and neonatal outcome: A retrospective observational study in tertiary teaching hospital, India. J Family Med Prim Care. 2022 May;11(5):1820-1825. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_1321_21.
Hosokawa Y, Okawa S, Hori A, Morisaki N, Takahashi Y, Fujiwara T, Nakayama SF, Hamada H, Satoh T, Tabuchi T. The Prevalence of COVID-19 Vaccination and Vaccine Hesitancy in Pregnant Women: An Internet-based Cross-sectional Study in Japan. J Epidemiol. 2022 Apr 5;32(4):188-194. doi: 10.2188/jea.JE20210458.
Skirrow H, Barnett S, Bell S, Riaposova L, Mounier-Jack S, Kampmann B, Holder B. Women's views on accepting COVID-19 vaccination during and after pregnancy, and for their babies: a multi-methods study in the UK. BMC Pregnancy Childbirth. 2022 Jan 14;22(1):33. doi: 10.1186/s12884-021-04321-3.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทยฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ที เอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.
Collier AY, McMahan K, Yu J, Tostanoski LH, Aguayo R, Ansel J, et al. Immunogenicity of COVID-19 mRNA Vaccines in Pregnant and Lactating Women. JAMA. 2021 Jun 15;325(23):2370-2380. doi: 10.1001/jama.2021.7563.
Skjefte M, Ngirbabul M, Akeju O, Escudero D, Hernandez-Diaz S, Wyszynski DF, Wu JW. COVID-19 vaccine acceptance among pregnant women and mothers of young children: results of a survey in 16 countries. Eur J Epidemiol. 2021 Feb;36(2):197-211. doi: 10.1007/s10654-021-00728-6.
Carbone L, Mappa I, Sirico A, Di Girolamo R, Saccone G, Di Mascio D, et al. Pregnant women's perspectives on severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 vaccine. Am J Obstet Gynecol MFM. 2021 Jul;3(4):100352. doi: 10.1016/j.ajogmf.2021.100352.
Di Mascio D, Khalil A, Saccone G, Rizzo G, Buca D, Liberati M, et al. Outcome of coronavirus spectrum infections (SARS, MERS, COVID-19) during pregnancy: a systematic review and meta-analysis. Am J Obstet Gynecol MFM. 2020 May;2(2):100107. doi: 10.1016/j.ajogmf.2020.100107.
Tao L, Wang R, Han N, Liu J, Yuan C, Deng L, et al. Acceptance of a COVID-19 vaccine and associated factors among pregnant women in China: a multi-center cross-sectional study based on health belief model. Hum Vaccin Immunother. 2021 Aug 3;17(8):2378-2388. doi: 10.1080/21645515.2021.1892432.
Egloff C, Couffignal C, Cordier AG, Deruelle P, Sibiude J, Anselem O, et al. Pregnant women's perceptions of the COVID-19 vaccine: A French survey. PLoS One. 2022 Feb 7;17(2):e0263512. doi: 10.1371/journal.pone.0263512.
WHO Thailand. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers on vaccine [serial online]. 2022 [cited 2022 January 26]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-vaccines
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9