ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเทคนิคการขับขี่เชิงป้องกัน ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่รถกระจายสินค้าและอุบัติการณ์ทางถนน ของพนักงานขับรถกระจายสินค้าในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย สิงห์สุ สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กิตติพงษ์ สอนล้อม คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การขับขี่เชิงป้องกัน, อุบัติการณ์ทางถนน, พฤติกรรมความปลอดภัย, พนักงานขับรถกระจายสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฝึกอบรมเทคนิคการขับขี่เชิงป้องกันต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่รถกระจายสินค้าและอุบัติการณ์ทางถนน ก่อนทดลอง หลังทดลอง 3 เดือน และติดตาม 6 เดือน ของพนักงานขับรถกระจายสินค้าในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือตัวแทนพนักงานขับรถกระจายสินค้า 1 คนต่อ 1 โรงงานในจังหวัดชลบุรี มีจำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73, 0.74 และ 0.76 ตามลำดับ และใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำก่อน หลัง และติดตาม (One-way repeated-measures ANOVA) และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันก่อนอบรมอยู่ในระดับต่ำ และหลังอบรม 3 เดือน อยู่ในระดับสูง และหลังอบรม 6 เดือน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความถี่ของการอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานหลังอบรม 3 เดือน ลดลงร้อยละ 78.00  และหลังอบรม 6 เดือนลดลงร้อยละ 54.41  เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงาน ก่อนอบรม 3 เดือน กับหลังอบรม 3 เดือน และติดตามผล 6 พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จากผลการศึกษาสามารถนำรูปแบบการฝึกอบรมเทคนิคการขับขี่เชิงป้องกันไปใช้ในฝึกการอบรมให้พนักงานเพื่อควบคุมพฤติกรรมในการขับขี่รถกระจายสินค้าให้มีความปลอดภัย และสามารถป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานขับรถกระจายสินค้าในโรงงานได้

Author Biographies

สิทธิชัย สิงห์สุ, สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

พรรณี บัญชรหัตถกิจ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

รองศาสตราจารย์

รัฐพล ศิลปรัศมี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์

กิตติพงษ์ สอนล้อม, คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

Bunnag N. SDG News: WHO เผยรายงาน ‘ไทย’ เสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้มีกฎหมายจราจรในเกณฑ์ดี [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 31] เข้าถึงได้จาก: https://www.sdgmove.com/2021/02/10/who-global-sttus-report-on-road-safety-2018/

กรมการขนส่งทางบก. ข้อมูลอุบัติเหตุรถบรรทุก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/actruck

Heinrich M. Industrial Accident Prevention. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 1959.

สำนักงานประกันสังคมและกองทุนทดแทน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.ย. 28] เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/84b88f068b29c808bf3efe3302802234.pdf

Beanland V, Huemmer I. The effectiveness of advanced driver training [Internet]. 2021 [Cited 2023 Aug 31]. Available from: https://www.nzta.govt.nz/assets/resources/research/reports/677/677-the-effectiveness-of-advanced-driver-training.pdf

Kelly MJ, Stanley LM. Effects of Defensive Vehicle Handling Training on Novice Driver Safety: Phase 2. Advanced Driving Training [Internet]. 2006 [Cited 2023 Aug 31]. Available from: https://rosap.ntl.bts.gov/view/dot/24881

Department of Industrial Works. Information of Factories in the EEC [Internet]. 2022. [Cited 2022 Aug 11] Available from: https://data.go.th/dataset/facproveec

Cohen J. A power primer. Psychol Bull. 1992 Jul;112(1):155-9. doi: 10.1037//0033-2909.112.1.155.

Block JH. Mastery Learning: Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th ed. Cape Town: Pearson Education Inc.; 2006.

สุภาพร ชินสมพล, ณัฐวุฒิ กกกระโทก, นิพาวรรณ์ เเสงพรม, ปภาดา เมธีวรรณกุล. ผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน : กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2565;8(1):82-96.

จิตติศักดิ์ ศรีสอน, รจนี ทศราช, วรรณา วรรณศรี. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตชิ้นไม้ยูคา หจก.พิพัฒน์เจริญกิจ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเฉลิมกาญจนา. 2563;7(2): 301-8.

British Standards Institution (BSI). ISO 45001 มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bsigroup.com/th-TH/occupational-health-and-safety-iso-45001/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-11