การป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การป้องกันการบาดเจ็บ, การออกกำลังกายบทคัดย่อ
ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ระบบการทำงานของร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง การตอบสนองช้าลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นลดลง วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมโดยเฉพาะทางด้านร่างกาย ซึ่งการออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย รวมถึงป้องกันหรือชะลอความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ แต่เนื่องจากความเชื่อหรือความเข้าใจผิดต่อการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ที่มีความกลัวว่าจะเกิดอันตรายหรือเกิดการบาดเจ็บในระหว่างการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุจึงไม่ออกกำลังกายเนื่องจากกลัวจะเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดอันตรายนั้นเอง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เนื่องจากการออกกำลังกายนั้นนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยลดหรือชะลอความเสื่อมของระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายแล้ว ยังช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื่อรังหรือโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย แต่จะต้องทราบถึงหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติในระหว่างการออกกำลังกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บและมีความปลอดภัยในระหว่างการออกกำลังกาย
References
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 3] . เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-23/download/?did=214400&id=109319&reload=
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้สูงวัย (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2560.
สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คู่มือการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2563.
สมฤดี อรุณจิตร, พิมพวรรณ เรืองพุทธ. การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร. 2562;22(3):96-105.
อัจฉรา ปุราคม. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. นครปฐม: โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2558.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตาราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
American College of Sports Medicine [ACSM]. ACSM’s Resource Manual for Guidelines for Exercise Testing and Prescription. (6th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2010.
สุปราณี หมื่นยา. การออกกําลังกายของผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ. 2560;9(1):59-69.
จุฑารัตน์ ปฏิเวทย์. การออกกำลังกายกับอัตราการเต้นของหัวใจ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/%20?did=205036&id=74068&reload=
สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. การดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตสื่อ เอกสาร และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา; [ม.ป.ป.]
American College of Sports Medicine (ACSM). ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2014.
กานต์ชิษชนก สารสุข. สภาพปัญหาและความต้องการในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในสวนลุมพินี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.
เจริญ กระบวนรัตน์. วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้; 2557.
กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือออกกําลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: บริษัท บี.ซี.เพรส (บุญชิน) จํากัด; 2557.
ดรุณวรรณ สุขสม. การบาดเจ็บจากการกีฬา. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991); 2552.
วิไล คุปต์นิรัติกุล. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2543 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 3] . เข้าถึงได้จาก: https://www.rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2014/03/exercise1.doc
ชฎาพร คงเพ็ชร์. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล. 2562; 68(4):64-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9