การพัฒนาการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการของผู้ปกครองและครู อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จตุพร ดวงเพชรแสง, พ.บ. โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคสมาธิสั้น, การอบรมผู้ปกครอง, การอบรมครู, การปรับพฤติกรรมเด็ก

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: โรคสมาธิสั้นเป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองทำให้เกิดความผิดปกติด้านพฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ ขาดสมาธิ ซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น การดูแลร่วมกันของผู้ปกครองและครูสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมผู้ปกครอง (Parent management training: PMT) ร่วมกับการอบรมครู (Teacher training: TL) เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กโรคสมาธิสั้นในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ดำเนินงานตั้งแต่กรกฎาคม 2566 ถึงกันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองเด็กโรคสมาธิสั้น 30 คนที่มีอายุ 6-12 ปี และครูโรงเรียนประถมศึกษา 70 คน โดยผู้ปกครองได้รับโปรแกรมการอบรมเพื่อปรับพฤติกรรมเด็ก และกลยุทธ์จัดการปัญหาพฤติกรรม ครูได้รับโปรแกรมการอบรมความรู้โรคสมาธิสั้น และกลยุทธ์การปรับพฤติกรรมเด็ก ประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมประเมินจากการปฏิบัติตัวของผู้ปกครองต่อเด็กโรคสมาธิสั้น ความรู้การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นของครู และอาการของเด็กโรคสมาธิสั้น

ผลการวิจัย: พบว่าโปรแกรม PMT ส่งเสริมให้ผู้ปกครองปฏิบัติตัวต่อเด็กโรคสมาธิสั้นดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรม TL ทำให้ครูมีความรู้ในการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโปรแกรม PMT ร่วมกับ TL ลดอาการขาดสมาธิ ซนอยู่ไม่นิ่ง และหุนหันพลันแล่น ของเด็กโรคสมาธิสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปอภิปรายผล: โปรแกรมการอบรมผู้ปกครองร่วมกับการอบรมครูมีประสิทธิผลต่อการปรับพฤติกรรมเด็กโรคสมาธิสั้น จึงเสนอแนะให้นำมาใช้เป็นวิธีการหลักของการรักษาเด็กโรคสมาธิสั้น

Author Biography

จตุพร ดวงเพชรแสง, พ.บ., โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

สถาบันพัฒนาการเด็กราชครินทร์. คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2560.

อนัญญา สินรัชตานันท์, ธีรารัตน์ แทนขำ, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 4 โรคหลัก (สติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียน) สำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

สุพร อภินันทเวช. การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยาและจิตสังคมบำบัดในประเทศไทย. เวชบันทึกศิริราช 2559; 9(30):175-81.

ธนิดา ทีปะปาล, ปภาสินี แซ่ติ๋ว, ศราวุธ เรืองสวัสดิ์, ธัญวดี นาคมิตร, ณัฏฐ์นรี คำอุไร. โรคสมาธิสั้นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อปัญหาพฤติกรรมสมาธิสั้นในเด็กนักเรียน: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565; 5(2):28-41.

สมัย ศิริทองถาวร, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, นุจรี คำด้วง, ภิญโญ อิสรพงศ์, สุรีรักษ์ พิลา, พัชนี พัฒนกิจโกศล และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการเด็กราชครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2560.

วราภรณ์ ชุมภูสืบ. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลลำปาง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

ชาญวิทย์ พรนภดล, วัจนินทร์ โรหิตสุข, มะลิรมย์ หัสดินรัตน์, นิรมล ยสินทร. คู่มือวิทยากรการฝึกอบรมผู้ปกครองวิธีปรับพฤติกรรมเด็ก [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล; 2549.

สมัย ศิริทองถาวร, ภิญโญ อิสรพงศ์, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, วรรณกมล สอนสิงห์, นุจรี คำด้วง, สุรีรักษ์ พิลา, และคณะ. หลักสูตรอบรมสำหรับครูโรงเรียนแกนนำร่วมประถมศึกษาในการดูแลปรับพฤติกรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ในเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น ปีที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2560.

Pfiffner LJ, Villodas M, Kaiser N, Rooney M, McBurnett K. Educational outcomes of a collaborative school-home behavioral intervention for ADHD. Sch Psychol Q. 2013 Mar;28(1):25-36. doi: 10.1037/spq0000016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08