การพัฒนาสื่อการ์ตูนให้ความรู้ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยเรียนตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

Smoking prevention

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อยของเด็ก 2) พัฒนาสื่อการ์ตูนให้ความรู้ในการป้องกันการสูบบุหรี่เรื่อง “พ่อครับบุหรี่คืออะไร” และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของสื่อการ์ตูนให้ความรู้เรื่อง “พ่อครับบุหรี่คืออะไร” กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 2 โรงเรียนเทศบาล 1 หนองใส จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน การดำเนินการมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสาเหตุการสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อยของเด็กจากการทบทวนวรรณกรรม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสื่อการ์ตูน และประเมินระดับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของสื่อการ์ตูน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย 1) สื่อการ์ตูนเรื่อง “พ่อครับบุหรี่คืออะไร” มีความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.99 และ 2)  แบบทดสอบความรู้ใในการป้องกันการสูบบุหรี่ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบ Paired t-test ผลวิจัยพบว่า 1) สาเหตุหลักของการสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อยของเด็กพบว่า เกิดได้ทั้งจากตนเอง ครอบครัวและสังคมรอบข้าง 2) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อสื่อการ์ตูนของเด็กอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53, SD=0.75) และ 3) หลังดูสื่อการ์ตูนเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนดูสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01, Mean difference 2.60, 95%CI 1.70-3.49)

สรุป สื่อการ์ตูนให้ความรู้เรื่อง “พ่อครับบุหรี่คืออะไร” มีประสิทธิผลที่ดีในการให้ความรู้ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็ก และควรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

Author Biographies

สุกัญญา ฆารสินธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

กรมควบคุมโรค สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข่าวในรั้ว สธ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.พ. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/165580/

กองสถิติสังคม. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ. กองสถิติพยากรณ์; 2564.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เจริญดี มั่นคงการพิมพ์; 2561.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ, ปวีณา ปั้นกระจ่าง, ดวงกมล สีตบุตร. สรุป 25 ปี การควบคมุ การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2535-2560. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2560.

ศิรินทร์ณา ทัศนียรัตน์, สุวรรณา มณีวงศ์, รุ่งกาญจน์ โรจนประดิษฐ, เสาวภาคย์ ทัดสิงห์. ควันบุหรี่กับสุขภาพเด็ก: การประยุกต์ใช้หลัก 5A ในการพยาบาล. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2564; 27(2):216-26.

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. ควันบุหรี่ ควันพิษที่เป็นภัยต่อเด็กและสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2566, เข้าถึงได้จาก: https://www.childrenhospital.go.th

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Health effects of secondhand smoke [Internet]. [Cited 2023 Feb 12]. Available from: https://www.cdc.gov/tobacco/secondhandsmoke/health.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Ftobacco%2Fdata_statistics%2Ffact_sheets%2Fsecondhand_smoke%2Fhealth_effects%2Findex.htm

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. วิจัย: สูบบุหรี่ในบ้าน มหันตภัยสารพิษสู่ลูกน้อย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 18]. เข้าถึงได้จาก: www.ptnosmoke.com/index

ณัฐชยา พลาชีวะ, ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. เทคโนโลยีดิจิทัล: นวัตกรรมป้องกันการสูบบุหรี่สำหรับเด็กและวัยรุ่น ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562;30(2):15-25.

จีรภัทร์ รัตนชมภู, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2563;12(1):13-27.

ศศิธร ชิดนายี, วราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(1):83-93.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, สุรัสวดี ไวว่อง. การป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2558;38(3):24-31.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สื่อสร้างภูมิคุ้มกันเด็กไทย ห่างไกลปัจจัยเสี่ยง. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

Salaudeen A, Musa O, Akande T, Bolarinwa O. Effects of health education on cigarette smoking habits of young adults in tertiary institutions in a northern Nigerian state. Health Sci J. 2013;7(1):54-67.

Stathopoulos T, Sourtzi P. Evaluation of a health education program for the prevention of smoking in secondary education students. Health Sci J2013; 7(1): 68-80.

Gagné RM, Briggs LJ, Wager WW. Principles of instructional design. 4th ed. Fort Worth, TX: Harcourt Brace Jovanovich College; 1988.

นิภาพรรณ บุญช่วย, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, นงลักษณ์ จินตนาดิลก, กลีบสไบ สรรพกิจ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2559;34(3):41-53.

Bernard R. Fundamentals of Biostatistics. Duxbery: Thomson Learning; 2000.

สุกัญญา ฆารสินธุ์, ณัฏฐพล นนทิบุตรธีรชัย, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, ชรินทร์พร มะชะรา. การพัฒนาสื่อวิดีโอให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2565;9(3):60-71.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971. อ้างใน เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตําบลสิงห์โคก อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยบรมราชชนนีสุรินทร์. 2561;8(1):48-9.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, วิกุล วิสาลเสสถ์, ศศิวิมล อภิวัฒน์, ดลพร ถกลวิบูลย์. สถานการณ์การสูบบุหรี่ในเด็กประถมศึกษากับบทบาทวิชาชีพทันตแพทย์. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2557,7(2):104-20.

Babakr ZH, Mohamedamin P, Kakamad K. Piaget’s Cognitive Developmental Theory: Critical Review. Education Quarterly Reviews. 2019;2(3):517-24.

Jackson C, Ennett ST, Dickinson DM, Bowling JM. Letting children sip: understanding why parents allow alcohol use by elementary school-aged children. Arch Pediatr Adolesc Med. 2012 Nov;166(11):1053-7. doi: 10.1001/archpediatrics.2012.1198.

ศิรณัฐ คงธนาคมธัญกิจ, เกียรติขร โสภณาภรณ์. การออกแบบการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องอันตรายจากบุหรี่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาทเกษตรศาสตร์กำแพงแสน; 2560; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-29