ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาล, ความชุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 268 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2566 โดยประเมินภาวะสมองเสื่อมจากแบบประเมิน Informant Questionnaire on Cognitive Decline (IQCODE) และแบบประเมินการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้สูงอายุ Neuropsychiatric Inventory (NPI-Q) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วย OR และ 95%CI
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.40 และโรคเบาหวาน ร้อยละ 36.60 มีประวัติการรับประทานยานอนหลับและยาทางจิตเวช ร้อยละ 25.4 และพบว่าไม่มีผู้ดูแลอยู่ร่วมด้วยในครอบครัว ร้อยละ 6.58 2) ความชุกภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาล ร้อยละ 19.4 (95%CI=14.8-24.7) และพบว่าความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมขั้นพื้นฐานของชีวิตมีความสัมพันธ์กับการเกิดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ OR 12.09 (95%CI=5.89-24.86) ส่วนโรคเรื้อรังทุกชนิดไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อม
จากผลการศึกษา การประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในเพื่อให้เข้าถึงการวินิจฉัยโรค และการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองของผู้สูงอายุที่นอนรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลได้
References
World Health Organization. Decade of Healthy Ageing Baseline Report. Geneva: WHO; 2020.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
World Health Organization. Global Action Plan on the Public Health Response to Dementia 2017-2025. Geneva: WHO; 2017
วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
อารดา โรจนอุดมศาสตร์, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่่อม. กรุุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2564.
โรงพยาบาลน้ำพอง. สรุปรายงานสถิติผู้มารับบริการประจำปีงบประมาณ 2565. โรงพยาบาลน้ำพอง; 2565.
Jorm AF. A short form of the Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (IQCODE): development and cross-validation. Psychol Med. 1994 Feb;24(1):145-53. doi: 10.1017/s003329170002691x.
Senanarong V, Assavisaraporn S, Sivasiriyanonds N, Printarakul T, Jamjumrus P, Udompunthuruk S, Poungvarin N. The IQCODE: an alternative screening test for dementia for low educated Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2001; 84(5): 648-55.
Cummings JL, Mega M, Gray K, Rosenberg-Thompson S, Carusi DA, Gornbein J. The Neuropsychiatric Inventory: comprehensive assessment of psychopathology in dementia. Neurology. 1994 Dec;44(12):2308-14. doi: 10.1212/wnl.44.12.2308.
Hinton L, Wang K, Levkoff S, Chuengsatiansup K, Sihapark S, Krisanaprakornkit T, Intasuwan P, Satthapisit S, Gallagher-Thompson D, Chen H. Dementia Neuropsychiatric Symptom Frequency, Severity, and Correlates in Community-Dwelling Thai Older Adults. Am J Geriatr Psychiatry. 2022 Aug;30(8):883-891. doi: 10.1016/j.jagp.2022.05.005.
Collin C, Wade DT, Davies S, Horne V. The Barthel ADL Index: a reliability study. Int Disabil Stud. 1988;10(2):61-3. doi: 10.3109/09638288809164103.
สุทธิชัย จินตะพันธ์กุล. มุมมองใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้ปรากฏการณ์ประชากรผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2545;3(2):49-62.
Kroenke K, Spitzer RL, Williams JB. The PHQ-9: validity of a brief depression severity measure. J Gen Intern Med. 2001 Sep;16(9):606-13. doi: 10.1046/j.1525-1497.2001.016009606.x.
ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):44-62.
วิลาสินี สุราวรรณ์. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมใน ผู้สูงอายุ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;10(2):58-69.
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2654;15(37):392-98.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, กชกร มาเกตุ, หทัยชนก บุญพิมพ์, จิราวัฒน์ ลิมป์พัชราภรณ์. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ใน ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น. 2564;2(2):70-80.
Kim S, Choe K, Lee K. Depression, Loneliness, Social Support, Activities of Daily Living, and Life Satisfaction in Older Adults at High-Risk of Dementia. Int J Environ Res Public Health. 2020 Dec 17;17(24):9448. doi: 10.3390/ijerph17249448.
Fauth EB, Schwartz S, Tschanz JT, Østbye T, Corcoran C, Norton MC. Baseline disability in activities of daily living predicts dementia risk even after controlling for baseline global cognitive ability and depressive symptoms. Int J Geriatr Psychiatry. 2013 Jun;28(6):597-606. doi: 10.1002/gps.3865.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9