ความเชื่อมโยงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ กับคุณภาพอากาศ อำเภอเมืองนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ชูชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://orcid.org/0000-0002-3547-667X
  • พิลาส สว่างสุนทรเวศย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพอากาศ, โรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ, อำเภอเมืองนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาความเชื่อมโยงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศกับคุณภาพอากาศ อำเภอเมืองนครราชสีมา เริ่มต้นจากการวบรวมข้อมูลรายเดือนปี พ.ศ. 2564 และ 2565 จำนวน 24 เดือน วิเคราะห์รูปแบบการกระจายของตัวแปรว่ามีการกระจายแบบปกติหรือไม่ แล้วเลือกใช้สหสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับรูปแบบการกระจาย การใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันมีข้อกำหนดเบื้องต้นให้ทั้งสองตัวแปรมีการกระจายแบบปกติ ถ้าเป็นอย่างอื่นใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปจาโมวี พบว่าคุณภาพอากาศเฉลี่ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ มีความสัมพันธ์กันสูง ขณะที่จำนวนผู้ป่วยโดยรวม 12 กลุ่มอาการโรคไม่สัมพันธ์กับกลุ่มโรคที่กล่าวมาข้างต้นแต่อย่างใด อุณภูมิเฉลี่ยและปริมาณฝนเฉลี่ยมีสหสัมพันธ์เชิงอันดับเป็นลบกับ CO ค่าเฉลี่ย 1 ชม. (ppm) PM10 ค่าเฉลี่ย 24 ชม. (มค.ก./ลบ.ม.) PM2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชม. (มค.ก./ลบ.ม.) เมื่ออุณภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และ/หรือ ปริมาณฝนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปริมาณ CO PM10 และ PM2.5 ลดลง จำนวนผู้ป่วยโดยรวม 12 กลุ่มอาการ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับ CO PM10 และ PM2.5 อุณภูมิเฉลี่ย และปริมาณฝนเฉลี่ย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05)

Author Biographies

ผุสดี ชูชีพ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

วัฒนา ชยธวัช, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

พิลาส สว่างสุนทรเวศย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

References

Schraufnagel DE, Balmes JR, Cowl CT, De Matteis S, Jung SH, Mortimer K, Perez-Padilla R, Rice MB, Riojas-Rodriguez H, Sood A, Thurston GD, To T, Vanker A, Wuebbles DJ. Air Pollution and Noncommunicable Diseases: A Review by the Forum of International Respiratory Societies' Environmental Committee, Part 2: Air Pollution and Organ Systems. Chest. 2019 Feb;155(2):417-426. doi: 10.1016/j.chest.2018.10.041.

Wei Y, Wang Y, Di Q, Choirat C, Wang Y, Koutrakis P, Zanobetti A, Dominici F, Schwartz JD. Short term exposure to fine particulate matter and hospital admission risks and costs in the Medicare population: time stratified, case crossover study. BMJ. 2019 Nov 27;367:l6258. doi: 10.1136/bmj.l6258.

The European Environment Agency (EEA). The Air quality in Europe 2021: Health impacts of air pollution in Europe, 2021 [online]. (2021 Nov 15). [cited 2023 Aug 9]. Available from: https://www.eea.europa.eu/publications/air-quality-in-europe-2021/health-impacts-of-air-pollution

Chau TT, Wang KY. An association between air pollution and daily most frequently visits of eighteen outpatient diseases in an industrial city. Sci Rep. 2020 Feb 11;10(1):2321. doi: 10.1038/s41598-020-58721-0.

กรวิภา ปุนณศิริ, เบญจวรรณ ธวัชสุภา, ณัฎฐกานต์ ฉัตรวิไล, ทิพย์กมล ภูมิพันธ์, อาทิตย์ โพธิ์ศรี. รายงานการศึกษาผลกระทบและคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศและการพัฒนาดัชนีสุขภาพอันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศของประเทศไทย. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://hia.anamai.moph.go.th/th/research/download/?did=208776&id=90702&reload=

Varapongpisan T, Frank TD, Ingsrisawang L. Association between out-patient visits and air pollution in Chiang Mai, Thailand: Lessons from a unique situation involving a large data set showing high seasonal levels of air pollution. PLoS One. 2022 Aug 18;17(8):e0272995. doi: 10.1371/journal.pone.0272995.

สุดจิต ครุจิต. รายงานการวิจัยสถานการณ์และการประมาณค่าฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) บริเวณโรงเรียนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/2374/2/1656_fulltext.pdf

อินท์ฉัตร สุขเกษม. การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา; 2563.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. ประกาศจังหวัดนครราชสีมา เรื่องมาตรการและแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://www.koratdla.go.th/public/list/data/showdetail/id/36966/menu/1763

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. จำนวนป่วย จำแนกรายกลุ่มโรค และรายโรค รายเดือน ด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ (รายเดือน) ปี พ.ศ.2564–2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=9c647c1f31ac73f4396c2cf987e7448a&id=5968980caf87d4518aa9f0263a9299c6

ส่วนคุณภาพอากาศ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย ประจำวันพุธ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:00 น. สรุปข้อมูลคุณภาพอากาศ พ.ศ. 2563-2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://tmd.go.th/forecast/daily/300820231800

Weather Spark. ภูมิอากาศและสภาพอากาศเฉลี่ยตลอดปีในนครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://th.weatherspark.com/y/114253/สภาพอากาศโดยเฉลี่ย-ใน-นครราชสีมา-ไทย-ตลอดปี#google_vignette

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New Jersey: Erlbaum; 1988.

Gujarati DN, Porter DC. Basic Econometrics. 5th ed. Singapore: McGraw-Hill/Irwin; 2009.

The jamovi project. jamovi. [computer program on the Internet]. Version 2.3.26. [place unknown]: The jamovi project; 2023 Apr 14. [cited 2023 Aug 9]. Available from: https://www.jamovi.org

R Core Team. R: A Language and environment for statistical computing. [computer program on the Internet]. Version 4.1. Vienna: R Foundation for Statistical Computing; 2021. [cited 2023 Aug 9]. Available from: https://cran.r-project.org

วัชราภรณ์ เชื่อมกลาง, นิรันดร์ คงฤทธิ์, หฤษฎ์สลักษณ์ วิริยะ. การทำนายอัตราการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ และความแปรปรวนสภาวะภูมิอากาศในจังหวัดนครราชสีมาด้วยแบบจำลองเชิงสถิติ และการจำลองเหตุการณ์แบบมอลติคาร์โล. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2563;14(1):146-54.

กิตติมา บ่างพัฒนาศิริ. โลกร้อนกับโรคระบบทางเดินหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2550; 18(1):2-9.

Jiang XQ, Mei XD, Feng D. Air pollution and chronic airway diseases: what should people know and do? J Thorac Dis. 2016 Jan;8(1):E31-40. doi: 10.3978/j.issn.2072-1439.2015.11.50.

AccuWeather. AccuWeather เมืองนครราชสีมา, นครราชสีมา: รายชั่วโมง [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 11]. เข้าถึงได้จาก https://www.accuweather.com/th/th/mueang-nakhon-ratchasima/319629/hourly-weather-forecast/319629

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-10