การพัฒนารูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 3

ผู้แต่ง

  • นาฏสินี ชัยแก้ว ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
  • มยุรี บุญทัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความสามารถของชุมชนในการพัฒนาสู่เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนใน 5 ตำบลในเขตสุขภาพที่ 3 พระ ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ผู้นำท้องถิ่น บุคลากรทางสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประเมินผลรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมมือในการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพและการศึกษา ความสามารถของชุมชนในการจัดสภาพแวดล้อมสู่เมืองที่เป็นมิตรของผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับที่มากที่สุด รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุมี 9 องค์ประกอบ โดยเพิ่มจาก 8 องค์ประกอบตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก คือ วัดส่งเสริมสุขภาพ โดยมีพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) เป็นผู้บทบาทสำคัญ ซึ่งมีการประยุกต์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทชุมชน ที่มีทุนทางสังคมในชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพลังในการดำเนินการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชน

Author Biographies

นาฏสินี ชัยแก้ว, ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

มยุรี บุญทัด, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

References

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2562 ;6(1):38-54.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2562.

วิชัย เอกพรากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิด; 2564.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของ Healthy Ageing ปีงบประมาณ 2565.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 25].เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

World Health Organization. Global age-friendly cities project. World Health Organization Press; 2007.

Cohen JM. Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Development; 1980.

เบญจมาศ เมืองเกษม. รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 2564;7(1):240– 254.

กันตภัสสร์ มงคลเชื้อทอง. การจัดการเมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2558.

บุญเชิด หนูอิ่ม. ศักยภาพเชิงพื้นที่ของเทศบาลเมืองแสนสุขเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย ; 2561.

กมลชนก ภูมิชาติ. รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. อินทนิลทักษิณสาร. 2561;13(1): 115-31.

ดวงกมล ภูนวล. การพัฒนารูปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย.วารสารสุขศึกษา. 2556;37(126):82-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-11