การศึกษาคุณภาพการนอนหลับของบุคลากรมหาวิทยาลัยพายัพ โดยใช้แบบสอบถามของพิตส์เบิร์ก

ผู้แต่ง

  • ธัญวรัชญ์ ตราทองคำ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพร เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย
  • อาทิตยา กาวีอ้าย มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย
  • เหรียญ หล่อวิมงคล มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, วิทยาลัยนานาชาติ
  • เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บุคลากรฝ่ายสนับสนุน, คุณภาพการนอนหลับ, แบบสอบถามของพิตส์เบิร์ก, โรคนอนไม่หลับ, ตำรับยาศุขไสยาศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพายัพ โดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 158 คน ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย (Thai Version of the Pittsburgh Sleep Quality Index: T-PSQI) เพื่อหาคุณภาพการนอนหลับของบุคลากรฝ่ายสนับสนุน และหาความรับรู้ ในการใช้ตำรับยาศุขไสยาศน์ที่มีส่วนประกอบของกัญชาในการรักษาโรคนอนไม่หลับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียรสัน (Pearson’s correlation coefficients)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับดี คิดเป็นร้อยละ 52.5 และมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 47.5 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของของบุคลากรฝ่ายสนับสนุน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ช่วงอายุ (r=-0.167) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพายัพ

Author Biographies

ธัญวรัชญ์ ตราทองคำ, มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพร เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย

นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

อาทิตยา กาวีอ้าย, มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย

อาจารย์

เหรียญ หล่อวิมงคล, มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, วิทยาลัยนานาชาติ

อาจารย์

เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์, มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่, สาขากัญชาศาสตร์และพืชสมุนไพรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย

อาจารย์

References

ธานินทร์ สนธิรักษ์. อาการหลับยากกับคุณภาพการหลับจากการสำรวจผ่านเว็บไซต์. วารสารกรมการแพทย์. 2565;47(2):109-15.

ชลธิชา แย้มมา, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ปัญหาการนอนหลับ ความเหนื่อยล้าและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556;58(2):183-96.

พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์. โรคนอนไม่หลับสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิตแก้ได้โดยไม่ใช้ยา [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910260?anm

สุพรรษา มีวิชา. การศึกษาประสิทธิผลการใช้ตำรับยาศุขไสยาศน์ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.nkh.go.th/nkh/journal/doc/51.pdf

นิสาชล บุตรสาทร, วริสรา ลุวีระ, พรรษ โนนจุ้ย, พหุรัตน์ ดีนอก, วิลาวัณย์ อุ่นเรือน. รูปแบบการนอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563;35(3): 332-9.

Fabbri M, Beracci A, Martoni M, Meneo D, Tonetti L, Natale V. Measuring Subjective Sleep Quality: A Review. Int J Environ Res Public Health. 2021 Jan 26;18(3):1082. doi: 10.3390/ijerph18031082.

Krystal AD, Edinger JD. Measuring sleep quality. Sleep Med. 2008 Sep;9 Suppl 1:S10-7. doi: 10.1016/S1389-9457(08)70011-X.

Yamane T. Statistics An Introductory Analysis, 2nd ed., New York: Harper and Row; 1969.

Sitasuwan T, Bussaratid S, Ruttanaumpawan P, Chotinaiwattarakul W. Reliability and validity of the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index. J Med Assoc Thai. 2014 Mar;97 Suppl 3:S57-67.

Marelli S, Castelnuovo A, Somma A, Castronovo V, Mombelli S, Bottoni D, et al. Impact of COVID-19 lockdown on sleep quality in university students and administration staff. J Neurol. 2021 Jan;268(1):8-15. doi: 10.1007/s00415-020-10056-6.

Sánchez-Díaz M, Díaz-Calvillo P, Soto-Moreno A, Molina-Leyva A, Arias-Santiago S. The Impact of Sleep Quality on Mood Status and Quality of Life in Patients with Alopecia Areata: A Comparative Study. Int J Environ Res Public Health. 2022 Oct 12;19(20):13126. doi: 10.3390/ijerph192013126.

ชนากร ปรีชา. กระบวนการเปลี่ยนศาสนาจากพุทธศาสนิกชนสู่การเป็นคริสตชนของคริสตจักรแห่งพระสิริมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระครูโกวิทสุตาภรณ์, แสวง นิลนามะ. การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์กับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. 2565;6(3):58-77.

อัญชลี ชุ่มบัวทอง, วิจิตร ชะโลปถัมภ์, พิชญา ทองอยู่เย็น, ศรายุทธ โชคชัยวรรัตน์, กันตภณ ธรรมวัฒนา, บังอร ฉางทรัพย์, พูลพงศ์ สุขสว่าง. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558;24(5):833-43.

อณิตา เครือประยงค์. คุณภาพการนอนหลับความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) [สารนิพนธ์ หลักสูราวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2560.

นิจวรรณ เกิดเจริญ, ชัยพร วิศิษฐ์พงศ์อารีย์, ชัญญวัชร เผดิมพรร่มเย็น, ชิติพัทธ์ เจริญนพคุณศรี, ณัฎฐวุฒิ สิทธิศักดิ์, นทีธร อิ่มเอิบปฐม, และคณะ. ปัจจัยด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2563;64(1): 41-58.

ดารัสนี โพธารส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนิสิตพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(1):25-36.

กาญจนา อยู่เจริญสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;2(1):37-49.

อังศุมาลิน แก้วบุตร, ประมุข โอศิริ, สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี, ฝนทิพย์ พงษ์สิน. ผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับในการทำงานกะของพนักงานแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(3):461-70.

ฉันทนา แรงสิงห์. คุณภาพการนอนหลับและภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ศุภสัณห์ ทรัพย์รัตนโชติ, ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์, โสทรินทร์ โชคคติวัฒน์. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ 2566;3(1):1-13.

ณปภัช จินตภาภูธนสิร. ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-29