รูปแบบการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในโรงเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรณี
  • ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ทศพร บุญญานุสนธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ร่วมพัฒนารูปแบบ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสนทนากลุ่มย่อย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในโรงเรียน สรุปดังนี้ 1) โรงเรียนได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในรูปแบบของโครงการและมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สูบบุหรี่ 2) มีคณะกรรมการของโรงเรียนทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 3) การสอดแทรกความรู้และการป้องกันการสูบบุหรี่ในเนื้อหาการเรียน 4) การติดป้ายงดสูบบุหรี่ตามบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน และ 5) นักเรียนมีบทบาทหรือส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายด้วย ระยะที่ 2 พบว่าการพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในโรงเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สรุปได้ 6 กิจกรรม คือ 1) การให้ความรู้ 2) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ 3) ฝึกทักษะการตัดสินใจ 4) การจัดการตนเอง 5) การรู้เท่าทันสื่อ และ 6) ฝึกทักษะการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ

ผลการศึกษาสามารถนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงทดลองใช้รูปแบบการการป้องกันและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และขยายไปสู่พื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันกับการศึกษานี้ได้

Author Biographies

ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรณี

อาจารย์

ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

อาจารย์

ทศพร บุญญานุสนธิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

References

World Health Organization. WHO Global Report on Trends in Prevalence of Tobacco Use 2000-2025. 3rd ed. Geneva: World Health Organization; 2019.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, สตรีรัตน์ รุจิระชาคร, ไอยรดา มารีอัมมัน. คู่มือแนวทางการจัดบริการสุขภาพวัยรุ่นแบบ บูรณาการตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง, สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2563.

บุญชัย พิริยกิจกำจร, นิรชร ชูติพัฒนะ. แนวทางการป้องกัน และลด ละ เลิกบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):108-23.

นัยนา หนูนิล, สายฝน เอกวรางกูร, เรวดี เพชรศิราสัณห์สาทร. กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพสู่การขับเคลื่อนจังหวัดตรังปลอดบุหรี่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;11(3):414-26.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, ประสพชัย พสุนนนท์. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2559;29(2):31-48.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research 1977;2(2):49-60.

วรรณวิไล สนิทผล. การประชุมเชิงปฏิบัติการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดบุหรี่ จ. จันทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธ.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230623153128628

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008 Dec;67(12):2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050.

Taggart J, Williams A, Dennis S, Newall A, Shortus T, Zwar N, et al. A systematic review of interventions in primary care to improve health literacy for chronic disease behavioral risk factors. BMC Fam Pract. 2012 Jun 1;13:49. doi: 10.1186/1471-2296-13-49.

ปรียานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วาสรารแพทย์นาวี. 2562;46(3):607-20.

Hoover DS, Vidrine JI, Shete S, Spears CA, Cano MA, Correa-Fernández V, et al. Health Literacy, Smoking, and Health Indicators in African American Adults. J Health Commun. 2015;20 Suppl 2(0 2):24-33. doi: 10.1080/10810730.2015.1066465.

Stewart DW, Adams CE, Cano MA, Correa-Fernández V, Li Y, Waters AJ, et al. Associations between health literacy and established predictors of smoking cessation. Am J Public Health. 2013 Jul;103(7):e43-9. doi: 10.2105/AJPH.2012.301062.

ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์. โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-07