ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อาสาฬห์ สหุนิล พ.บ. โรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
  • รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์ พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มารับบริการกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81, 0.96, 0.91 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับน้อยมาก ร้อยละ 71.8 รองลงมาได้แก่ระดับน้อย ร้อยละ 19.4 และระดับปานกลาง ร้อยละ 6.8 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ความเครียด สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน สัมพันธภาพในครอบครัว อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรด้านสุขภาพจิต และจิตเวช ควรมีการเฝ้าระวัง คัดกรอง และจัดการกับปัจจัยดังกล่าว เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

Author Biographies

อาสาฬห์ สหุนิล พ.บ., โรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการ

รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์ พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

References

UNAIDS. Global HIV & AIDS Statistics [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธ.ค. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unaids.org/en/resources/fact-sheet

ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านเอชไอวี ของประเทศไทย. คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธ.ค. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

รัชนี เสนาน้อย, เสาวคนธ์ วีระศิริ. ความเครียดและการปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์: การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีการคืนสภาพครอบครัว. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2562; 39(4):120-8.

จารุวรรณ เดียวสุวรรณ. การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้าน. พุทธชินราชเวชสาร. 2563; 37(1):14-25.

World Health Organization. "วันอนามัยโลก 2560 : ซึมเศร้า...เราคุยกันได้" [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/who_depress/1_who.pdf

นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 57(4):439-46.

มาลัย ใจสุดา, ฐาปกรณ์ เรือนใจ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร. 2560; 38(2):39-48.

รัฐกานต์ ปาระมี. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลแม่สาย. เชียงรายเวชสาร. 2563; 12(1):31-43.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3), 607-10.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด (ST5). [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/Download/view.asp?id=18

มหาวิทยาลัยมหิดล. แบบประเมินภาวะซึมเศร้า PHQ-9. [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/Download/view.asp?id=18

สวรรยา งานวิวัฒน์ถาวร, ญัฏฐพงษ์ กุลสิทธิจินดา. ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในแพทย์ฝึกหัดโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563; 65(4):373-84.

วิลาสินี สุราวรรณ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2564; 66(4):403-16.

รัตนา คีรีพิเชษฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ระเมิง [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2565/r2r/MA2565-003-02-0000000807-0000000771.pdf

ทฏะวัฎร์ พิลึกภควัต. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2557; 22(3):186-94.

ธีรภัทร์ ลักษณียนาวิน, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(3):59-72.

ณิชาภัทร รุจิดาพร, อุมาพร ตรังคสมบัติ. ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2552; 54(4):337-45.

นันทยา คงประพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2563; 5(11):302-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15