ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของวัยรุ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • สุวรัตน์ ธีระสุต, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • นิภา สุทธิพันธ์, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • เพ็ญพิศ นุกูลสวัสดิ์, รป.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • รจนา ยืนสุข พย.บ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • จักรกริช สนิทพจน์, วท.บ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมลดความเสี่ยงทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมลดความเสี่ยงทางสุขภาพของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.04 คะแนน ความตระหนักรู้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 คะแนน และพฤติกรรมลดความเสี่ยงทางสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.22  คะแนน (ทุกส่วนมีคะแนนเต็ม 4.00) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมลดความเสี่ยงทางสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ได้แก่ อายุ  (gif.latex?\chi^{2}=21.94) ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม (r=0.599) รายด้านทุกด้าน (r=0.456-0.555) และความตระหนักรู้ (r=0.639) ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของวัยรุ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป

Author Biographies

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

สุวรัตน์ ธีระสุต, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

นิภา สุทธิพันธ์, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

เพ็ญพิศ นุกูลสวัสดิ์, รป.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

รจนา ยืนสุข พย.บ., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

References

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา และอาภาพร เผ่าวัฒนา. การป้องกันพหุพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นไทยทำได้จริงหรือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2561; 34(2):173-88.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สานพลังตัดตอนปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นสู่การสร้างรากฐานแข็งแกร่งแรงงานไทยในอนาคต [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/iBelP

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://cas.or.th/wp-content/uploads/2022/05/FF-chapter-1-For-Print.pdf

กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/202101/m_news/32053/200929/file_download/5499b750564075b590cc442f64caae41.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทยหนักสุดติดยา. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28478

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2563.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2563.

กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/download/?did=211184&id=97083&reload=

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center. ภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 15-18. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพวัยรุ่นไทยอายุ 12-19 ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: http://hed.go.th/linkHed/395

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2560.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพของวัยรุ่นไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/312355.pdf

เบญจพร ทองมาก. ความรอบรูดานสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแหงชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(2):50-61.

กรมสุขภาพจิต. สภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่ในวัยรุ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2504

ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, นิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):257-72.

ทิพรดี คงสุวรรณ, ยศกฤต หล่อชัยวัฒนา, สมนึก กุลสถิตพร, สายพิณ โชติวิเชียร, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์, อรุณี ลายธีระพงศ์. คู่มือดูแลตนเองเพื่อสุขภาพดีมีความสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

วันชัย สมใจเพ็ง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2565;5(2):101-16.

กรมอนามัย. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School: HLS) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://gshps-th.com/hps/files/HLS_Guideline.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20