ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กฤติกา หงษ์โภคาพันธ์, พ.บ. โรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, พระสงฆ์, ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพพระสงฆ์

บทคัดย่อ

พระสงฆ์นับเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่พบโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุจากพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิต การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบ Retrospective analytic study ในพระสงฆ์ที่จำพรรษาในจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2564 สุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จำนวน 370 รูป จากประชากรพระสงฆ์ทั้งสิ้น 9,964 รูป ตามสูตรของ Krejcie & Morgan เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 

ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 41-60 ปี จำนวนพรรษา 1-10 ปี เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นพระลูกวัด ไม่มีโรคประจำตัว เคยสูบบุหรี่เลิกแล้ว ดัชนีมวลกายปกติ การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.30 การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคจากพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.7 การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.3 การรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.2  พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r=0.414, p=0.000) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคจากพฤติกรรมสุขภาพ (r=0.236, p=0.000) การรับรู้ประโยชน์
ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r=0.215, p=0.000) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r=0.541, p=0.000)

จากผลการวิจัย ควรส่งเสริมให้ความรู้การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพแก่พระสงฆ์ และให้ความรู้แก่อุบาสกอุบาสิกา เรื่องการถวายอาหารที่เหมาะสม

Author Biography

กฤติกา หงษ์โภคาพันธ์, พ.บ., โรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ, กมรวรรณ อัครพงศกร, จารุวรรณ ต่ายเถาว์, ณัฐรินีย์ ปักษี, นัทธมน เงินลุน,

ปาริชาติ ผลทอง และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2564;13(1):266-82.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลย์วงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธาดา แก้วดา. รายงานสถานการณ์โรค NCDsเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

ศนิกานต์ ศรีมณี, ชนิดา มัททวางกูร, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, ระชี ดิษฐจร, พรรณี ตรังคสันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;19(37):22-38.

จรรยา นราธรสวัสดิกุล, ประพันธ์ เข็มแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2563;1(1):10-23.

วิภาวดี สีตนไชย, กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. การรับรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตามธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2564. 6(3):103-11.5

พีระพล หมีเอี่ยม, ธนัช กนกเทศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 2563;9(3):1-12.

สนธนา สีฟ้า. การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี; 2560.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561;24(1):71-83.

ศิโรรัตน์ โชติกสถิต, เสาวนีย์ พงผึ้ง. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2563;6(3):297-307.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07