การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตร อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (หลักสูตรต่อเนื่อง 50 ชั่วโมง)

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา วัชรประทีป ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย
  • บุษรินทร์ พูนนอก ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย
  • จีรภา ผ่องแผ้ว ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

คำสำคัญ:

หลักสูตรอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (หลักสูตรต่อเนื่อง 50 ชั่วโมง), อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.), การรับรู้ความสามารถแห่งตน, การดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของการอบรมหลักสูตร อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (หลักสูตรต่อเนื่อง 50 ชั่วโมง) ในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติงาน และ 2) ศึกษาความเห็นต่อการดำเนินการอบรม และความคาดหวังต่อการได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคต โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เก็บข้อมูลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ที่เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน และความคิดเห็นต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (94.0%) สถานภาพสมรส (61.5%) จบการศึกษาระดับ ม.ปลายหรือ ปวช. (64.0%) ปฏิบัติงานที่ อบต. (81.5%) หลักสูตรการอบรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถแห่งตนทุกด้าน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (gif.latex?\bar{x}=3.24, SD=0.47) การสร้างสัมพันธภาพ (gif.latex?\bar{x}=3.23, SD=0.46) และ การบันทึกรายงานและการส่งต่อ (gif.latex?\bar{x}=3.20, SD=0.46) ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่ำสุด 3 ลำดับ ได้แก่ การดูแลแผล (gif.latex?\bar{x}=2.94, SD=0.50) การดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีโรคประจำตัว (gif.latex?\bar{x}=3.05, SD=0.49) และ การดูแลอาหารเฉพาะโรค (gif.latex?\bar{x}=3.05, SD=0.54) ผู้เข้าอบรมประเมินว่าการอบรมมีประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=3.62, SD=0.53) และควรมีการปรับปรุงการปฏิบัติงานของอสบ. ในประเด็นค่าตอบแทน สภาพการทำงาน สัมพันธภาพกับผู้สูงอายุ ญาติ และบุคลากรสาธารณสุข และการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งขอความช่วยเหลือสำหรับผู้เข้าไม่ถึงบริการ

Author Biographies

สุกัญญา วัชรประทีป, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

บุษรินทร์ พูนนอก, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

จีรภา ผ่องแผ้ว, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

เล็ก สมบัติ, ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ธนิกานต์ ศักดาพร. ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณประโยชน์กับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2554.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 51 ก วันที่ 18 เมษายน 2562; แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580).

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน.เวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.กรุงเทพฯ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : บริษัท ที คิว พี จำกัด; 2555.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559:24-32.

กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้ายอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการเบิกค่าใช้จ่าย พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 145 ง ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2562.

Kelder SH, Hoelscher D, Perry CL. How individuals, environments, and behaviors interact. In Glanz K, Rimer BK, Viswanath K. Health Behavior: Theory, research, and practice. 5th ed. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2015.

Yamane T. Statistics and Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1973.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale. In Maranell G (editor). Scaling: A Sourcebook for Behavioral Scientists. New York: Routledge; 1967.

Best JW. Research in Education. 4th ed. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall; 1981.

Bandura A. Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.

ปิยากร หวังมหาพร. ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 2561;14(3):1-10.

ไกรษร จุลโยธา. ผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดบึงกาฬ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2565;8(3):172-82.

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์, วารี ศรีสุรพล. การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560.

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 145 ง.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเบิกจ่าย พ.ศ. 2562

ธิดารักษ์ ลือชา, ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. การจัดระบบดูแลผู้สูงอายุตามแนวคิดการปกครองแบบร่วมมือ: กรณีการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2565;9(2):274-94.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง, พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562;1(2):39-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22