ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็ก เขตสุขภาพที่ 9 พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง

  • ประดับ ศรีหมื่นไวย, วท.ม. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ชัชฎา ประจุดทะเก, ส.ม. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • อัญชลี ภูมิจันทึก, ส.ม. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, เขตสุขภาพที่ 9

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน และบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 553 คน โดยสุ่มแบบ Multi-stage stratified sampling เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม Denver II สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และประเมินพัฒนาการเด็กด้วย Denver II เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2564

ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยรวมร้อยละ 81.4 เมื่อจำแนกตามอายุพบว่า เด็กอายุ 0-2 ปี และเด็กอายุ 3-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยรวมร้อยละ 85.0 และ 78.2 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ p-value<0.05 โดยพิจารณารายด้าน ดังนี้ ปัจจัยด้านคุณลักษณะบุคคลและสุขภาพแม่ขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ อายุครรภ์เมื่อคลอดและมารดามีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยด้านเด็ก ได้แก่ อายุเด็กและเพศของเด็ก และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู ได้แก่ การร้องเพลงให้เด็กฟังหรือร้องเพลงกล่อมเด็ก และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือ DSPM ของผู้เลี้ยงดูหลัก จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ควรเพิ่มมาตรการในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สร้างแนวทางการคัดกรองและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เน้นการฝึกทักษะให้พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กส่งเสริมและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กด้วยตนเอง

Author Biographies

ประดับ ศรีหมื่นไวย, วท.ม., ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ชัชฎา ประจุดทะเก, ส.ม., ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

อัญชลี ภูมิจันทึก, ส.ม., ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2560.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, วันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2561.

ชัชฎา ประจุดทะเก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2561;12(28):5-19.

Levy PS, Lemshow S. Sampling of Populations: Methods and Applications. New York: John Wiley&Sons; 2013.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.

นิตยา คชภักดี, อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. คู่มือการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย. พิมพ์ ครั้งที่ 4. นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; 2556.

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทุกช่วงวัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2555.

Kobyakov FS. Diet, parental behavior and preschool can boost children’s IQ. Association for Psychological Science; 2013.

Hartnett JK. Delayed Speech or Language Development [Internet]. 2022 [cited 2023 Oct 10]. Available from: http://kidshealth.org/parent/emotions/behavior/not_talk.html

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, บุษบา อรรถาวีร์. การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยปี 2564: ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2566;33(1):102-17.

สุพัตรา บุญเจียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2565;14(1):40-60.

พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น, นิชนันท์ อินสา, อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, รัชดาวรรณ บุญมีจิว, แววตา ระโส. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(3):42-56.

นิรมัย คุ้มรักษา, พรพิมล ธีรนันท์, ศุภรพรรณ ศรีหิรัญรัศมี, บุศรา คูหพันธ์, เอกชัย เกิดสวัสดิ์. สภาวการณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2557;22(2):76-83.

พนิต โล่เสถียรกิจ, วรรณภา กางกั้น, กรวิกา ภู่พงศ์พันธ์กุล, โชติรส พันธ์พงษ์, มลุลี แสนใจ, ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์, และคณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยในปี พ.ศ. 2557. วิชาการสาธารณสุข 2560;26(ฉบับเพิ่มเติม 2):S199-S208.

สุชา จันทน์เอม. จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2542.

ประภาภรณ์ จังพานิช, วสุรัตน์ พลอยล้วน. การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2564. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2566;46(1):41-53.

นงลักษณ์ แก้วมณี, วไลพร เมฆไตรรัตน์. ผลการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 2562;9(1):127-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-09