การศึกษาความชุกของการได้รับยาไม่เหมาะสมและการใช้ยาร่วมกันหลายขนานของผู้ป่วยที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566
คำสำคัญ:
การได้รับยาไม่เหมาะสม, การใช้ยาร่วมกันหลายขนาน, ผู้สูงอายุ, คลินิกผู้สูงอายุ, AGS 2023 Beers Criteriaบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่อาจมีผลต่อการได้รับยาไม่เหมาะสม และความชุกของการได้รับยาร่วมกันหลายขนานของผู้สูงอายุที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
วิธีวิจัย: ศึกษาโดยเป็นการวิจัยภาคตัดขวางโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565-31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีการได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการขึ้นไป และมีข้อมูลค่า Creatinine ในครั้งที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งหมด 343 คน
ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่าง 343 คน พบผู้สูงอายุที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสม 147 คน (ร้อยละ 42.86), พบผู้สูงอายุที่ใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป 223 คน (ร้อยละ 65.01), ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาไม่เหมาะสมได้แก่ การได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป, เพศหญิง, การมีโรคเรื้อรังในกลุ่ม Bone and joint disease, Muscle and tendon disease และ Neuropsychiatric disease กลุ่มยาที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ Skeletal muscle relaxants, Central nervous system drugs และ Antihistamine drugs รายการยาที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Dimenhydrinate, Chlorpheniramine, Tolperisone, Lorazepam และ NSAIDs
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: โรงพยาบาลบางแห่งยังไม่มียาที่ใช้ทดแทน Dimenhydrinate, Chlorpheniramine, Lorazepam และ Amitriptyline ซึ่งเป็นยาที่มีการสั่งใช้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจพิจารณาเรื่องการนำเข้ารายการยาเพิ่มเติม และระมัดระวังในการใช้ยาในกลุ่มนี้มากขึ้น
References
ศุทธิดา ชวนวัน, กาญจนา เทียนลาย, วิชาญ ชูรัตน์, ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น, สิทธิชาติ สมตา. Research Brief: การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.
Salive ME. Multimorbidity in older adults. Epidemiol Rev. 2013;35:75-83. doi: 10.1093/epirev/mxs009.
Viktil KK, Blix HS, Moger TA, Reikvam A. Polypharmacy as commonly defined is an indicator of limited value in the assessment of drug-related problems. Br J Clin Pharmacol. 2007 Feb;63(2):187-95. doi: 10.1111/j.1365-2125.2006.02744.x.
Budnitz DS, Lovegrove MC, Shehab N, Richards CL. Emergency hospitalizations for adverse drug events in older Americans. N Engl J Med. 2011 Nov 24;365(21):2002-12. doi: 10.1056/NEJMsa1103053.
Leelakanok N, Holcombe AL, Lund BC, Gu X, Schweizer ML. Association between polypharmacy and death: A systematic review and meta-analysis. J Am Pharm Assoc (2003). 2017 Nov-Dec;57(6):729-738.e10. doi: 10.1016/j.japh.2017.06.002.
Ruangritchankul S. Polypharmacy in the Elderly. Rama Med J. 2018;41(1):95-104.
วรัญญา บัวขวัญ, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์. รายการยาที่ไม่เหมาะสมที่ผู้สูงอายุใช้ในบ้านพักคนชรา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8(1):3-14.
ธนากร แก้วสุทธิ, เรืองนิพนธ์ พ่อเรือน. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยาที่ไม่เหมาะสม ในผู้สูงอายุที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก หน่วยบริการระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2564;4(3):69-80.
American Geriatrics Society Beers Criteria. Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2023 updated AGS Beers Criteria® for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc. 2023 Jul;71(7):2052-2081. doi: 10.1111/jgs.18372.
Tao L, Qu X, Gao H, Zhai J, Zhang Y, Song Y. Polypharmacy and potentially inappropriate medications among elderly patients in the geriatric department at a single-center in China: A retrospective cross-sectional study. Medicine (Baltimore). 2021 Oct 22;100(42):e27494. doi: 10.1097/MD.0000000000027494.
Baldoni Ade O, Ayres LR, Martinez EZ, Dewulf Nde L, Dos Santos V, Pereira LR. Factors associated with potentially inappropriate medications use by the elderly according to Beers criteria 2003 and 2012. Int J Clin Pharm. 2014 Apr;36(2):316-24. doi: 10.1007/s11096-013-9880-y.
Holmes HM, Luo R, Kuo YF, Baillargeon J, Goodwin JS. Association of potentially inappropriate medication use with patient and prescriber characteristics in Medicare Part D. Pharmacoepidemiol Drug Saf. 2013 Jul;22(7):728-34. doi: 10.1002/pds.3431.
Mattos MK, Sereika SM, Naples JG, Albert SM. Differences in Benzodiazepine Receptor Agonist Use in Rural and Urban Older Adults. Drugs Real World Outcomes. 2016 Sep;3(3):289-296. doi: 10.1007/s40801-016-0080-7.
วัลยา ตูพานิช, สุธีกาญจน์ ไชยลาภ, กิตติ ไชยลาภ. ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2562; 63(พิเศษ):S83-S92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9