การพัฒนาระบบบริการและการปรึกษาด้านสุขภาพทุกกลุ่มวัย ในศูนย์การค้าโดยการประยุกต์ใช้แนวคิด Lean
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการ, การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ, แนวคิด Leanบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการประยุกต์ใช้แนวคิด Lean ในระบบบริการและการปรึกษาด้านสุขภาพ ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) การสำรวจ วิเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการตามหลัก DOWNTIME 2) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี 3) ออกแบบวิธีการดำเนินงานตามแนวคิด Lean ค้นหา Waste เปลี่ยนเป็น Value 4) ทดลองใช้และปรับปรุง และ 5) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สาขาเดอะมอลล์ ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตพฤติกรรม ทำการศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลเวชระเบียน เครื่องมือ Lean และแผนที่สายธารแห่งคุณค่า (Value stream mapping: VSM) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่าเพิ่มการเข้าถึงของประชาชนจำนวน 18,648 ครั้ง ผู้รับบริการเพิ่มขึ้น 34.5% ในปี 65 และ 135% (2.4 เท่า) ในปี66 ผู้รับบริการรายใหม่เพิ่มขึ้น 37% ในปี 65 และ 94% ในปี 66 ลดขั้นตอน และระยะเวลารอคอย จาก 9 ขั้นตอน เหลือ 4 ขั้นตอน และใช้เวลาเดิมเฉลี่ย 59 นาที เหลือเฉลี่ยเพียง 21 นาที ประหยัดงบประมาณเฉลี่ย 1,722,000 บาท/ปี ลดการใช้ทรัพยากร ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการ ด้านผลการให้บริการในภาพรวมได้แก่บริการที่ตรงกับความต้องการ การรักษาที่คุ้มค่าคุ้มประโยชน์ในปี 2565 ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และปี 2566 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.98 ภาวะสุขภาพกาย คือจำนวนผู้ที่มีค่าน้ำหนักปกติและค่าน้ำหนักเกิน เพิ่มขึ้น โรคอ้วนลดลง ค่าความดันโลหิตเหมาะสม ปกติ และค่อนข้างสูงเพิ่มขึ้น
References
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Lean กับการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ย. 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/Lean/Lean60.pdf
ยุวรีย์ พิชิตโชค, ภรณี กนกโรจน์, วรญาพัชร์ พัฒนธีระนนท์. การนำแนวคิด Lean มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2555;56(4):403-9.
กนกวรรณ วงศ์อินทร์อยู่, หนึ่งฤทัย อภิพัตกานต์, ศุกร์สวัสดิ์ แสนประเสริฐ. การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการโดยใช้ลีนในผู้ป่วยนอกทางทันตกรรมเพื่อรองรับรูปแบบปกติใหม่ (New Normal) ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 8-9 กรกฎาคม 2564 [เข้าถึงเมื่อ 256 ต.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://publication.npru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1427/1/npru_172.pdf
อุไรวรรณ วรรณศิริ. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์เพื่อลดความสูญเปล่าของระบบกรณีศึกษาแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;24(3):75-85.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). Lean Government แนวคิดในการบริหารราชการยุคใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก:http://science.swu.ac.th/Portals/22/Lean/2015/LeanGovernment.pdf
ตุลาพล นิติเดชา. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานสนับสนุนวิชาการในสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2565.
นภัสรพี ปัญญาธนวาณิช. การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ [สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
นงค์เยาว์ แสงคำ. การปรับปรุงกระบวนการให้บริการงานจ่ายกลางโดยใช้แนวคิดแบบ LEAN. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2566;13:1-16.
พีระพล ศรีวิชัย, สุภมล ดวงตา, กัสมา กาซ้อน, วิไลลักษณ์ วงศ์ชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม 5ส.กับกระบวนการลีน ที่มีผลต่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2566;8(1):1-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9