ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหมู่บ้านต้นแบบ เขตเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศินาท แขนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • จตุพร แก้วมณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ธนาวุฒิ สุพร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่บ้านต้นแบบ เขตเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 35 คน ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบการเดินและการทรงตัว แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แบบคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ และแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  และ 2) โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ประกอบด้วย การป้องกันการหกล้ม การป้องกันสมองเสื่อม การป้องกันภาวะซึมเศร้า และโภชนาการในผู้สูงอายุ โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเดินและการทรงตัว สมรรถภาพสมองเบื้องต้น ภาวะซึมเศร้า ภาวะโภชนาการ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น ดังนั้นควรขยายผลให้กับภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

Author Biographies

ศินาท แขนอก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

จตุพร แก้วมณี, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ธนาวุฒิ สุพร, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุุ. สถานุการณ์์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุุงเทพฯ: อมรินทร์ คอร์์เปอเรชั่นส์; 2566.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตองค์การอนามัยโลกฉบับย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). เชียงใหม่: โครงการจัดทำ โปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่; 2554.

โครงการสุขภาพคนไทย. สุขภาพคนไทย 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรผู้สูงอายุุในประเทศไทยุ พ.ศ. 2564. กรุุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับประชาชน “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2561.

วีรพล กิตติพิบูลย์, นิธิรัตน์ บุญตานนท์. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาวะเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุตามแนวคิด“ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(34):158-71.

Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongul W, Jitapunkul S. Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2008;91(12):1823-31.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

ณหทัย วงศ์ปการันย์, ทินกร วงศ์ปการันย์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, ยุพาพรรณ ศิริอ้าย, คะนึงนิจ ไชย ลังการณ์, วิรัตน์ นิวัฒนนันท์, และคณะ. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. นนทบุรี: สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข; 2559.

Christner S, Ritt M, Volkert D, Wirth R, Sieber CC, Gaßmann KG. Evaluation of the nutritional status of older hospitalised geriatric patients: a comparative analysis of a Mini Nutritional Assessment (MNA) version and the Nutritional Risk Screening (NRS 2002). J Hum Nutr Diet. 2016 Dec;29(6):704-713. doi: 10.1111/jhn.12376.

สุนันทา กาญจนพงศ์, ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุป้องกันไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ภายใต้แนวคิดชราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2566;46(2):98-110.

สุวิมล แสงเรือง และคณะ. ผลของการใช้หลักสูตรไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ร่วมกับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) แบบมีส่วนร่วมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 9 ด้าน. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(4):233-43.

กรฐณธัช ปัญญาใส, จุฑามาศ กิติศรี, พิชชานาถ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยลัยบูรพา. 2560;12(2):65-74.

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธรณินทร์ คุณแขวน, ภัททิรา ก้านทอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(4):172-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-11