การพัฒนารูปแบบการประเมินอันตรายจากบ้าน สำหรับคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • บุษรินทร์ พูนนอก ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ศรีประภา ลุนละวงค์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แบบประเมินอันตรายจากบ้าน, การหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินอันตรายจากบ้าน และหาปัจจัยกำหนดความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน พัฒนาแบบประเมินโดยการแปลเป็นภาษาไทยและปรับรูปแบบข้ามวัฒนธรรม ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบความเที่ยงจากการวัดซ้ำและระหว่างผู้ประเมิน และตรวจสอบความสอดคล้องภายในของข้อคำถามกับผู้สูงอายุ 50 คน และทดสอบความตรงเชิงพยากรณ์ในระยะติดตาม 1 ปีกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จังหวัดนครราชสีมา 480 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Cox proportional hazard model พยากรณ์ความแม่นยำจากพื้นที่ใต้โค้ง พิจารณาความไวและความจำเพาะ

ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง 480 คน อายุเฉลี่ย 72.8 ปี พบอุบัติการณ์หกล้ม ร้อยละ 30.8 หกล้มซ้ำ ร้อยละ 68.2 ความตรงเชิงเนื้อหาระดับดี มีความเที่ยงจากการวัดซ้ำและความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินระดับดี ค่า Interclass correlation coefficient เท่ากับ 0.853 และ 0.796 ตามลำดับ มีความสอดคล้องภายในของข้อคำถามทั้งฉบับ 0.856 พยากรณ์การล้มได้ ร้อยละ 53.7 ความไว ร้อยละ 29.7 ความจำเพาะ ร้อยละ 77.7 ปัจจัยการลุก-นั่งออกจากโถส้วมได้อย่างลำบาก และพื้นต่างระดับ มีความสัมพันธ์กับการหกล้มครั้งแรก ส่วนปัจจัยภายในบ้านมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่มีโถส้วมแบบนั่งราบ การลุก-นั่งออกจากโถส้วมได้อย่างลำบาก และการเปิดไฟจากเตียงนอนได้อย่างลำบาก มีความสัมพันธ์กับการหกล้มซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: Thai Home-FAST มีความเที่ยงและความตรงที่เหมาะสม

Author Biographies

บุษรินทร์ พูนนอก, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ศรีประภา ลุนละวงค์, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด; 2562.

World Health Organization. WHO Global report on falls prevention in older age 2007.

Kenny RA, Romero-Ortuno R, Kumar P. Falls in older adults. Medicine. 2017;45(1):28-33.

World Health Organization. Fact sheet: Falls [Internet]. 2018 [cited 2019 Feb 24]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls

Halter JB, Ouslander JG, Studenski S, High KP, Asthana S, Supiano MA, et al. Hazzard's Geriatric Midicine and Gerontology. 7th ed. New York: Mc Graw Hill Education; 2017.

Gillespie LD, Robertson MC, Gillespie WJ, Lamb SE, Gates S, Cumming RG, et al. Interventions of preventing falls in older people living in the community. Cochrane Database of Syst Rev 2012;(9)CD007146. DOI: 10.1002/14651858.CD007146.pub3.

Deandrea S, Lucenteforte E, Bravi F, Foschi R, La Vecchia C, Negri E. Risk factors for falls in community-dwelling older people: a systematic review and meta-analysis. Epidemiology. 2010;21(5):658-68.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2557.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2558.

Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongkul W, Jitapunkul S. Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2008;91:1823-32.

Romli MH, Mackenzie L, Lovarini M, Tan MP, Clemson L. The clinimetric properties of instruments measuring home hazards for older people at risk of falling: a systematic review. Eval Health Prof. 2018;41(1):82-128.

Beaton DE, Bombardier C, Guillemin F, Ferraz MB. Guideline for the process of cross-cultural adaptatin of self-report measures. Spine 2000;25:3186-91.

Mehraban AH, Mackenzie LA, Byles JE. A self-report home environment screening tool indentified older women at risk of falls. J Clin Epidemiol. 2011;64:191-9.

Lim YM, Sung MH. Home environmental and health-related factors among home fallers and recurrent fallers in community dwelling older Korean women. Int J Nurs Pract. 2012;18(5): 481-8.

Letts L, Moreland J, Richardson J, Coman L, Edwards M, Ginis KM, et al. The physical environment as a fall risk factor in older adults: Systematic review and meta-analysis of cross-sectional and cohort studies. Aust Occup Ther J. 2010;57(1):51-64.

Lim KH, Jasvindar K, Normala I, Ho BK, Yau WK, Mohmad S, et al. Risk factors of home injury among elderly people in Malaysia. Asian J Gerontol Geriatr. 2013;8(2):1-5.

Yu PL, Qin ZH, Shi J, Zhang J, Xin MZ, Wu ZL, et al. Prevalence and Related Factors of Falls among the Elderly in an Urban Community of Beijing. Biomed Environ Sci. 2009;22:179-87.

Deandrea S, Lucenteforte E, Bravi F, Foschi R, La Vecchia C, Negri E. Risk factors for falls in community-dwelling older people: a systematic review and meta-analysis. Epidemiology. 2010;21(5):658-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-10