การใช้ชีวิตหลังการได้รับการรักษาโดยการล้างไตทางหน้าท้อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ เมืองไทย สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยุพาวดี ขันทบัลลัง สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การใช้ชีวิตของผู้ป่วย, การล้างไตทางหน้าท้อง, โรคไตวายเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ชีวิตหลังการได้รับการรักษาโดยการล้างไตทางหน้าท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง จำนวน 40 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง แบบประเมินพฤติกรรมดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน แบบประเมินการจัดการตนเองเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวัน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับสูงร้อยละ 87.50 (gif.latex?\bar{x}=25, SD=1.61) มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับสูงร้อยละ 75 (gif.latex?\bar{x}=89.92, SD=8.61) และการจัดการตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 87.50 (gif.latex?\bar{x}=77.27, SD=8.81) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ผู้ป่วยมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการล้างไต แต่ไม่สามารถปฏิบัติตนได้อย่างเคร่งครัด 2) ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 3) การล้างไตทางหน้าท้องเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ 4) ผู้ป่วยมีความคาดหวังในการใช้ชีวิตที่เป็นปกติภายใต้การรักษาโดยการล้างไตทางหน้าท้อง

การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องและสามารถพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการสร้างเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

GBD 2019 Diseases and Injuries Collaborators. Global burden of 369 diseases and injuries in 204 countries and territories, 1990-2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet. 2020 Oct 17;396(10258):1204-1222. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30925-9. Erratum in: Lancet. 2020 Nov 14;396(10262):1562.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไตเรื้อรังในคนไทยเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ล่าสุดปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/

กมลรัตน์ เอี่ยมสำราญ. ผลของการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลนครพนม.วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2563;7(1):63-74

มัณฑนา เพชรคำ, ลาวัลย์ เพชรคำ, สาคร อินโท่โล่. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่าง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องและการฟอกเลือดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563; 38(1):137-46.

ศศิธร สุรทานต์นนท์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564;1(1):78-89.

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(4):485-503.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson; 2002.

Giorgi A. Phenomenology and Psychological Research. Pittsburgh, Pennsylvania: Duquesne University Press; 1985.

สุภลักษณ์ ธานีรัตน์, เมทณี ระดาบุตร, สุจิรา วิเชียรรัตน์, วิญญา สุมาวัน. การรับรู้และประสบการณ์ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;15(3):83-94

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2020/08.pdf

วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, เพชรลดา จันทร์ศรี.การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2563;6(2):5-20.

กนิษฐา จันทรคณา, ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูแลตนเองและความสุขของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย. วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2560;9(17):1-13.

จีรวรรณ์ ประชุมฉลาด, ภาวิณี แพงสุข. ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย.วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(2):249-59.

อังศุมาลิน ศรีจรูญ, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ, วราภรณ์ บุญเชียง. ผลของการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560;44(2):104-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03