ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความจำบกพร่องระยะแรกในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วิทธวัช จอมคำ โรงพยาบาลพะเยา
  • วิไลพร กาเชียงราย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กนกนาถ พรหมวิชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใส จังหวัดพะเยา
  • เกหลั่น ประเสริฐธิติพงษ์ โรงพยาบาลพะเยา
  • สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วินัฐ ดวงแสนจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ภาวะความจำบกพร่องระยะแรก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะความจำบกพร่องระยะแรก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความจำบกพร่องระยะแรกในผู้สุงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 220 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน และประเมินภาวะความจำบกพร่องระยะแรก โดยเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแคว์ และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการศึกษา: ความชุกของผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องระยะแรก จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 79.50 และพบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์กับภาวะความจำบกพร่องระยะแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป: ผลการวิจัยศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องระยะแรก อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Author Biographies

วิทธวัช จอมคำ, โรงพยาบาลพะเยา

นายแพทย์ชำนาญการ

วิไลพร กาเชียงราย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์

กนกนาถ พรหมวิชัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใส จังหวัดพะเยา

พยาบาลวิชาชีพ

เกหลั่น ประเสริฐธิติพงษ์, โรงพยาบาลพะเยา

พยาบาลวิชาชีพ

สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วินัฐ ดวงแสนจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์

References

Chen P, Cai H, Bai W, Su Z, Tang YL, Ungvari GS, Ng CH, Zhang Q, Xiang YT. Global prevalence of mild cognitive impairment among older adults living in nursing homes: a meta-analysis and systematic review of epidemiological surveys. Transl Psychiatry. 2023 Mar 11;13(1):88. doi: 10.1038/s41398-023-02361-1.

จันทนี ห้องสวัสดิ์, พนิดา สุวิชานรากุล, เกษรา มานนท์, ประณต เค้าฉิม. ภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องระดับเล็กน้อยของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งเขตพระนคร. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2565;15(1):97-109.

ปัณณทัต บนขุนทด, กัลยา มั่นล้วน. ภาวการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย: ก่อนป่วยด้วยสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2565;4(1):1-15.

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. ภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(1):381-93.

ชวนนท์ อิ่มอาบ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(5):782-91.

ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล. 2560;32(1):64-80.

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file_download/file_20210129131952.pdf

นฤบดินทร์ รอดปั้น, ศิราณี ศรีหาภาค, ละมุล เกษสาคร, กฤษณาวรรณ เพียสุพรรณ, อริษรา โพธิ์มา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567;18(2):459-72.

โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์. Montreal Cognitive Assessment [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พ.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/12012023-110708-6436.pdf

กนกวรรณ ศรีสุภรสกุล, โอปอร์ วีรพันธุ์, กัญญ์วรา ท่าว่อง, เบญจพร สุภาอินทร์, อริยา พลเรียงโพน, อรอุมา บุณยารมย์, และคณะ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะพุทธิปัญญาพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(1):14-26.

Bai W, Chen P, Cai H, Zhang Q, Su Z, Cheung T, Jackson T, Sha S, Xiang YT. Worldwide prevalence of mild cognitive impairment among community dwellers aged 50 years and older: a meta-analysis and systematic review of epidemiology studies. Age Ageing. 2022 Aug 2;51(8):afac173. doi: 10.1093/ageing/afac173.

Griffiths J, Thaikruea L, Wongpakaran N, Munkhetvit P. Prevalence of Mild Cognitive Impairment in Rural Thai Older People, Associated Risk Factors and their Cognitive Characteristics. Dement Geriatr Cogn Dis Extra. 2020 Mar 26;10(1):38-45. doi: 10.1159/000506279.

Durant J, Leger GC, Banks SJ, Miller JB. Relationship between the Activities of Daily Living Questionnaire and the Montreal Cognitive Assessment. Alzheimers Dement (Amst). 2016 Jun 29;4:43-6. doi: 10.1016/j.dadm.2016.06.001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02