ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้ ทัศนคติ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของนักศึกษาหญิงในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อัญชลี อ้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • นงนุช บุญมาลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กัตติกา วังทะพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • วรนุช ไชยวาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์, การตั้งครรภ์ไม่พร้อม, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, นักศึกษาหญิง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ต่อความรู้ ทัศนคติและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของนักศึกษาหญิงในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 3 จำนวน 73 คน ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยวีดิทัศน์ เกมส์ การฝึกปฏิบัติ และการแข่งขันตอบคำถาม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ (gif.latex?\bar{x}=6.73, SD=1.45) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด (gif.latex?\bar{x}=14.56, SD=3.03) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ (gif.latex?\bar{x}=56.62, SD=6.86) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (gif.latex?\bar{x}=56.38, SD=6.45) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (gif.latex?\bar{x}=28.89, SD=5.89) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ (gif.latex?\bar{x}=8.47, SD=1.20) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด (gif.latex?\bar{x}=17.07, SD=1.94) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (gif.latex?\bar{x}=33.89, SD=4.31) อยู่ในระดับดี ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ (gif.latex?\bar{x}=58.67, SD=7.53) และทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (gif.latex?\bar{x}=56.73, SD=6.17) มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าหลังการทดลองความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง คะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทัศนคติต่อการคุมกำเนิดมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สรุปได้ว่าโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนี้สามารถสร้างเสริมความรู้ ทัศนคติและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้

Author Biographies

อัญชลี อ้วนแก้ว, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

สุภาพักตร์ หาญกล้า, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

นงนุช บุญมาลา, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

กัตติกา วังทะพันธ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

วรนุช ไชยวาน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

References

ธนิดา ผาติเสนะ, จิรารัตน์ วิเศษสัตย์, ธิดาพร งวดชัย, อัจฉราพรรณ ไทยภักดี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 2565;20(1):71-81.

เมนิน วิโนทัย. การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากมุมมองของปัญหาเรื่อง การอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, รัตนาภรณ์ อาษา, พิชสุดา เดชบุญ, ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ. ทัศนคติต่อการคุมกำนิดของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;12(3):79-90.

ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, วัชรีวงศ์ หวังมีน. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสารการสร้างแรงจูงใจและพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562;27(2):158-65.

ศศนัชสรณ์ ประสมทรัพย์, กิตติคุณ ปานน้อย, นิจนาวี คำไชยเทพ, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศรัณย์ กอสนาน, ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(6):1122-33.

พิมพ์ชนก วชิรปราการสกุล, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. การเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกเครียดในนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 2565;12(1):49-63.

Lokhee S, Hogg RC. Depression, stress and self-stigma towards seeking psychological help in veterinary students. Aust Vet J. 2021 Jul;99(7):309-317. doi: 10.1111/avj.13070.

มหาวิทยาลัยราชธานี. อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาปีการศึกษา 2565. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2566.

กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น ศูนย์อนมัยที่ 8 อุดรธานี. โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นและอนามัยเจริญพันธุ์แบบบูรณาการ. อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี; 2565.

Cochrane WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1997.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โครงการสนับสนุนการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; มปป.

Srisaeng P. Self-esteem, stressful life events, social support and postpartum depression in adolescent mothers in Thailand [dissertation]. Cleveland, OH: Case Western Reserve University; 2003.

Anderson LW, Krathwohl DR, Bloom BS. A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: a Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman; 2001.

เปรมวดี คฤหเดช. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้การคุมกำเนิดต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ. วารสารเกื้อการุณย์. 2560;24 (2):145-61.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, อิชยา มอญแสง, พัชรินทร์ ไชยบาล. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดพะเยา. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(3):340-53.

ปฐมพร โพธิถาวร. ผลการจัดกิจกรรมฉลาดรู้ฉลาดคิดป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565;5(1):33-49.

วราภรณ์ สาวิสิทธิ์. ทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13(2):47-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03