ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันความเสี่ยง จากภาวะการนอนกรนของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ภาวะการนอนกรน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะการนอนกรนและเปรียบเทียบผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน รวม 62 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองจะได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 3 ครั้ง และกลุ่มเปรียบเทียบเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบผลความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 120.77 คะแนน กลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ย 96.74 คะแนน และหลังจากกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก V-Shape ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจ การสอบถาม การตัดสินใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการบอกต่อ ผลพบว่าทุกประเด็นกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะการนอนกรน เป็นโปรแกรมที่มีความสำคัญที่ควรเพิ่มให้กับผู้รับบริการ เป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการที่มีปัญหาการนอนกรนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอ สามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันตนเองได้
References
กรองทอง วงศ์ศรีตรัง. กลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นในผู้ใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร 2556;31(4):203-15.
ปารยะ อาสนเสน. การนอนกรน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2552;3(3):440-58.
ปารยะ อาศนะเสน. อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับกรน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rcot.org/2021/ForPeople/RCOT-Knowledge/a99cd528fd8e8db91f654b024361d827ad80ce8d
นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล. ทบทวนวรรณกรรม เรื่องกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า. 2561;19(2):41-50
ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์. โรคนอนกรน. [อินเตอร์เน็ต] มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-72.pdf
พยุงศักดิ์ ศักดาภิพาณิชย์, วีรศักดิ์ คลองลาภเจริญ. การตรวจการนอนหลับผู้ป่วยนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 6-7. 2551;27(1-2):275-87.
ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์. นอนกรน...การหายใจติดขัดขณะหลับ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2553;2(3):1-13.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2562;5(1):496-507.
ภรัญวิทย อนันตดิลกฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสรมความรอบรู้ด้านสุขวิทยาการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. [อินเตอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc9.anamai.moph.go.th/th
Bloom BS. Handbook on Formative and Somative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Singh V, Pandey S, Singh A, Gupta R, Prasad R, Singh Negi MP. Study pattern of snoring and associated risk factors among medical students. Biosci Trends. 2012 Apr;6(2):57-62.
Huang Z, Aarab G, Chattrattrai T, Su N, Volgenant CMC, Hilgevoord AAJ, de Vries N, Lobbezoo F. Associated factors of primary snoring and obstructive sleep apnoea in patients with sleep bruxism: A questionnaire study. J Oral Rehabil. 2022 Oct;49(10):970-979. doi: 10.1111/joor.13354.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียน วัยทำงาน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.
วชิระ เพ็งจันทร์. กรอบแนวคิด Heath Literacy ของกรมอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 30]. เข้าถึงได้จาก: https://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=444
วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9