ประสิทธิผลของการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ป.4 ถึง ม.3 จำนวน 8,217 คน จาก 125 โรงเรียน ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้เกณฑ์ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุและน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ด้วยแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 ถึง ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Multiple linear regression
ผลการศึกษา: นักเรียนทั้งหมด 8,217 คน (ปี 2564=664 คน, ปี 2565=7,553 คน) มีภาวะโภชนาการแบบสูงดีสมส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.6 (2564) เป็นร้อยละ 63.5 (2565) ผอมและเตี้ยมีแนวโน้มลดลง ผอม ลงลงจากร้อยละ 5.0 (2564) เป็นร้อยละ 4.8 (2565) เตี้ย ลดลงจากร้อยละ 9.3 (2564) เป็นร้อยละ 4.8 (2565) ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.6 (2564) เป็นร้อยละ 63.6 (2565) พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ระดับดีมากเพิ่มจาก ร้อยละ 57.6 (2564) เป็นร้อยละ 62.1 (2565) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 หากความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 1 คะแนน พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้น 0.89 คะแนน
สรุป: โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพในเชิงบวกทั้งภาวะโภชนาการ เพิ่มความรอบรู้และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ผลการศึกษาสนับสนุนการขับเคลื่อนโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิตประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายอายุ): จำนวนประชากรรายอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 66 ก.พ. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 เฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ จำกัด; 2565.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ: ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2541. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การนำความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558;8(2):68-75.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน ปี 2562. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2562.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6-19 ปี. กรุงเทพฯ: บริษัททำด้วยใจ จำกัด; 2564.
บังอร กล่ำสุวรรณ์, ชนิดาภา วงษ์รักษา, สุวิชชา สังข์ทอง, สุภาภรณ์ ศรีสุพรรณ, ปาริชาต ภามนตรี. การพัฒนารูปแบบโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(2):95-105.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2560.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.พ. 19]. เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/268335.pdf.
พิสิษฐ์ ลิหมิด, อัญชลี พงศ์เกษตร, ขจรศักดิ์ ไชยนาพงศ์, กมลวรรณ วณิชชานนท์. ความฉลาดทางสุขภาพและอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลในเขตเทศบาลยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(1):35-46.
ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา. 2562;42(2):23-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9