การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคไข้มาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า จังหวัดระนอง
คำสำคัญ:
โรคไข้มาลาเรีย, การจัดโรคไข้มาลาเรียบริเวณพื้นที่ชายแดนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอนในการพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพ การกำหนดรูปเพื่อการจัดการโรคไข้มาลาเรีย และการประเมินผลการพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมการพัฒนาคณะกรรมการ แกนนำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคไข้มาลาเรียสูงขึ้นจากระดับน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 60.0) เป็นระดับสูง (มากกว่าร้อยละ 80) และสามารถนำความรู้ไปดำเนินการจัดการโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรียลดลง จากอัตราการตรวจพบเชื้อที่มากกว่าร้อยละ 1.00 เหลือเพียงร้อยละ 0.33 และส่งผลให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อบริการและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการดำเนินงานเพื่อจัดการโรคไข้มาลาเรียมากกว่าร้อยละ 85 ผลการประชุมเพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา เห็นว่าการนำกลไกทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มองค์กร ทุน และความรู้ มาก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการรวมพลังภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและเห็นว่าการสร้างเครือข่ายหรือสนับสนุนให้ภาคท้องถิ่นหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองจะส่งผลต่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่เหมาะสม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การกําจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการกำจัดโรคไข้มาลาเรียน ปี 2560-2567. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาผสมอนุพันธุ์อาร์ติมิซินระดับภูมิภาค ภายใต้โครงการกองทุนโลกด้านมาลาเรียปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรีย. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 11.5 ระนอง. สรุปรายงานประจำปี; เอกสารอัดสำเนา; 2559.
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. ความเป็นมาของกองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา; 2549.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ปารณัฐ สุขสุทธิ์. สุขภาพภาคประชาชนกับการพัฒนาระบบสุขภาพ. ใน: สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. การสาธารณสุขไทย 2548-2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
สุภางค์ จันทวานิช. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับซิ่ง; 2550.
Corbin J, Strauss A. Basic of Qualitative Research: Techniques and Procedures for Developing Grounded Theory. 4th ed. San Jose, CA: SAGE: 2014.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ขั้นตอนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ. นนทบุรี: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบสุขภาพภาคประชาชน: แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2554.
กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, ปัทมา สุพรรณกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษา ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558;9(3):196-207.
สมหมาย งึมประโคน, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559;23(1):35-45.
Van Meter DS, Van Horn CE. The policy implementation process. Administrative & Society. 1975;6(4):445-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9