ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบ OTAGO ต่อการทรงตัวและความกลัวในการล้มของผู้สูงอายุภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ปานทอง กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • สุกัญญา แสงภารา กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2, การออกกำลังกายแบบโอทาโก, ความกลัวการหกล้ม, การทรงตัว

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกลัวการล้มและเกิดปัญหาด้านการทรงตัวตามมา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบโอทาโกต่อความสามารถในการทรงตัวและความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระยะเวลา 8 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม โดยกลุ่มควบคุมจำนวน 22 คน ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายฝึกการทรง ในขณะที่กลุ่มทดลอง 22 คน ได้รับโปรแกรมออกกำลังกายแบบโอทาโก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Mixed model for repeated measurement ผลของการศึกษา พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ในส่วนของคะแนนความสามารถด้านการทรงตัว (Berg Balance Scale) ค่า p-value <0.001 ความสามารถในการเดิน (Time up and go test) p=0.021 และคะแนนความกลัวการล้ม p=0.001 จึงสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถออกกำลังกายแบบโอทาโกเพื่อเพิ่มภาวะสุขภาพและลดความเสี่ยงของการหกล้มได้

Author Biographies

พิมพ์ชนก ปานทอง, กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ

สุกัญญา แสงภารา, กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ

References

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes--2012. Diabetes Care. 2012 Jan;35 Suppl 1(Suppl 1):S11-63. doi: 10.2337/dc12-s011.

Kim KS, Kim SK, Sung KM, Cho YW, Park SW. Management of type 2 diabetes mellitus in older adults. Diabetes Metab J. 2012 Oct;36(5):336-44.

doi: 10.4093/dmj.2012.36.5.336

ระพีพรรณ เทือกทักษ์, ณัฐิดา สีสุกเพชร, วรัญญา โสดาภักดิ์, ศรีนวล ทองเหลื่อม. ผลของโปรแกรมการฝึกการทรงตัวแบบกลุ่มเพื่อลดภาวะกลัวการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวาน: การศึกษานำร่อง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2562;25(3):78-88.

Eastman C, Marzillier JS. Theoretical and methodological difficulties in Bandura's self-efficacy theory. Cogn Ther Res. 1984; 8:213-29. doi: 10.1007/BF01172994.

Ebrahim HT, Abd-elhady AA, Mohamed EA, Abd-elhaseeb AA. Effect of Otago Exercise on Balance Problem in Elderly Diabetic Women Patients. The Journal of The 21th International Scientific Conference Faculty of Physical Therapy, Cairo. 2022:1-9 [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 22]. Available from: http://lib.pt.cu.edu.eg/HASNAA%

TOURKY%20EBRAHIM%20%2021th%20Conference%20PT%20%20July%202022.pdf

กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, ไชยยงค์ จรเกตุ, ปราโมทย์ วาดเขียน, ศักรินทร์ สินไชย, อรอุมา บุณยารมย์, สมภิยา สมถวิล. การทดสอบโปรแกรมสำหรับวัดเวลาการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน. Chulalongkorn Medical Journal. 2561;62(6):965-74.

Prevention of Falls Network Europe [ProFaNE]. Falls Efficacy Scale Internaitonal (FES-I) [Internet]. No date [cited 2023 Jun 22]. Available from: https://sites.manchester.ac.uk/fes-i/

ลัดดา เถียมวงศ์. การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2554; 29(6): 277-87.

Bokan-Mirković V, Škarić-Karanikić Ž, Nejkov S, Vuković M, Ćirović D. Diabetic Polyneuropathy and Risk of Falls: Fear of Falling and Other Factors. Acta Clin Croat. 2017 Dec;56(4):721-727. doi: 10.20471/acc.2017.56.04.20.

ชมพูนุช ชีวะกุล. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบโอทาโกร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(3):597-608.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24