ผลการประยุกต์โปรแกรมการออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับการเต้นบาสโลบ และการบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยการประคบน้ำอุ่น ในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่ชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม, การออกกำลังกายแบบโอทาโก, การเต้นบาสโลบ, การประคบน้ำอุ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม ระดับความปวด ระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบโอทาโก และการเต้นบาสโลบ ร่วมกับการประคบน้ำอุ่น ในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว วัดซ้ำก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง หมู่ 5 ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการออกกำลังกายแบบโอทาโก และการเต้นบาสโลบ ร่วมกับการประคบน้ำอุ่น เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิกในผู้สูงอายุ แบบประเมินความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม แบบสอบถามอาการปวดเข่า และแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคขอเขาเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Pair t-test)
ผลการวิจัย: หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม และค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดเข่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: ควรแนะนำการออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับการเต้นบาสโลบ และการประคบน้ำอุ่นในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
References
GBD 2019 Diseases and Injuries Collaborators. Global burden of 369 diseases and injuries in 204 countries and territories, 1990-2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet. 2020 Oct 17;396(10258):1204-1222. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30925-9. Erratum in: Lancet. 2020 Nov 14;396(10262):1562.
Cui A, Li H, Wang D, Zhong J, Chen Y, Lu H. Global, regional prevalence, incidence and risk factors of knee osteoarthritis in population-based studies. EClinicalMedicine. 2020 Nov 26;29-30:100587. doi: 10.1016/j.eclinm.2020.100587.
Litwic A, Edwards MH, Dennison EM, Cooper C. Epidemiology and burden of osteoarthritis. Br Med Bull. 2013;105:185-99. doi: 10.1093/bmb/lds038.
Michael JW, Schlüter-Brust KU, Eysel P. The epidemiology, etiology, diagnosis, and treatment of osteoarthritis of the knee. Dtsch Arztebl Int. 2010 Mar;107(9):152-62. doi: 10.3238/arztebl.2010.0152. Erratum in: Dtsch Arztebl Int. 2010 Apr;107(16):294.
ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์. ข้อเข่าเสื่อม [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 14].เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/182512/
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=36746
My Channel Official. สถิติผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม อายุ 60 ปีขึ้นไป ปี 2560, 2561, 2562, 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ค. 22]. เข้าถึงได้จาก: https://experts.in.th/health/thai-osteoarthritis-stat/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. รายงานประจำปี 2564. ชัยนาท: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท; 2566.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพงาม จังหวัดชัยนาท. รายงานประจำปีงบประมาณ 2566. ชัยนาท: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพงาม; 2566.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจและรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2559.
ธนพงศ์ แสงส่องสิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบเพิ่มแรงต้าน และการจัดการด้านการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มชาวสวนยางพาราสูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าอักเสบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวเวชศาสตร์0]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: 2560.
ดวงพร สุรินทร์, สยัมภู ใสทา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าร่วมกับการประคบร้อนในผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อมเครือข่ายบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารกายภาพบำบัด. 2566;45(2):97-111.
Thomas S, Mackintosh S, Halbert J. Does the 'Otago exercise programme' reduce mortality and falls in older adults?: a systematic review and meta-analysis. Age Ageing. 2010 Nov;39(6):681-7. doi: 10.1093/ageing/afq102.
ชมพูนุท ชีวะกุล. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(3):597-608.
ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/PTMUcenter/?locale=th_TH
จันจิรา บิลหลี. ผลของโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;1(2):42-51.
ชนิดา อินทร์แก้ว. การศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมในการลดปัญหาข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม รพ.สต.ช้างซ้าย อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33(2): 293-302.
Holland K. Stages of Osteoarthritis (OA) of the Knee [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 1]: Available from: https://www.healthline.com/health/osteoarthritis-stages-of-oa-of-the-knee
ธนินนิตย์ ลีรพันธ์. การป้องกันโรคปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-143
สุภาพ อารีเอื้อ. ป้องกันและชะลอ“ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2148045
คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 4]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ%20พ.ศ.%202564.pdf
สุภาพ อารีเอื้อ, นภาภรณ์ ปิยขจรโรจน์. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการออกกําลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วย โรคเข่าเสื่อม. วารสารสภาการพยาบาล. 2551;23(3):72-84.
รักสกุลชัย ทองจันทร์, กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, ธนากร ธนวัฒน์. ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(2):118-28.
ปิยมน มัทธุจัด, อลิสา นิติธรรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษา ณ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2563;20(1):70-89.
เนตรชนก จันทร. ประสิทธิผลของการรักษาด้วยการออกกำลังกายตาม แนวคิด Movement System Impairment ต่อระดับความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ และระดับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(3):478-87.
นีรกานต์ กลิ่นกำเนิด. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2565.
โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี. แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.ย. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chanthaburihospital.com/scrquestion/tkrquestion/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9