ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมอง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย ในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลปากช่องนานา

ผู้แต่ง

  • วุฒิไกร กรพิมาย สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปากช่องนานา นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีปริชานบกพร่องเล็กน้อย, โปรแกรมฝึกปริชาน, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: ผู้สูงอายุที่มีปริชานบกพร่องเล็กน้อยจะส่งผลต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวันและความสามารถในการเข้าสังคมลดลง การศึกษานี้ ใช้โปรแกรมฝึกปริชาน “Pak Chong Model for MCI” ที่ประยุกต์จากโปรแกรม TEAM-V เพื่อให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำทักษะนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีการศึกษา: วิจัยแบบ Quasi-experimental ผู้เข้าร่วม 40 คน ทำแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดคุณภาพชีวิตของ WHO ดำเนินกิจกรรมฝึกปริชานแบบ Pak Chong Model จำนวน 3 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ หลังทำกิจกรรมครบ ประเมินผลด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตและแบบประยุกต์การนำกิจกรรมไปใช้ที่บ้านในสัปดาห์ที่ 10 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานเป็น Paired t-test แสดงผลเป็นค่า p-value และ 95% Confidence Interval

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้าโปรแกรมเป็น 84.5±11.23 และ 100.175±9.42 พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)  คะแนน MoCA test ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมเป็น 20.625±3.13 และ 21.375±2.75 ตามลำดับ มีค่าเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ  ส่วนคะแนนการนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ที่บ้านมีค่าร้อยละ 82.1

สรุป: การใช้โปรแกรมฝึกปริชาน Pak Chong Model ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยในหน่วยบริการปฐมภูมิได้

Author Biography

วุฒิไกร กรพิมาย, สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปากช่องนานา นครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการ

References

Gillis C, Mirzaei F, Potashman M, Ikram MA, Maserejian N. The incidence of mild cognitive impairment: A systematic review and data synthesis. Alzheimers Dement (Amst). 2019 Mar 8;11:248-256. doi: 10.1016/j.dadm.2019.01.004.

Eshkoor SA, Hamid TA, Mun CY, Ng CK. Mild cognitive impairment and its management in older people. Clin Interv Aging. 2015 Apr 10;10:687-93. doi: 10.2147/CIA.S73922.

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. ภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(1):381-93.

Yuan Q, Qi W, Xue C, Ge H, Hu G, Chen S, Xu W, Song Y, Zhang X, Xiao C, Chen J. Convergent Functional Changes of Default Mode Network in Mild Cognitive Impairment Using Activation Likelihood Estimation. Front Aging Neurosci. 2021 Oct 5;13:708687. doi: 10.3389/fnagi.2021.708687.

Liang X, Ho MCW, Zhang Y, Li Y, Wu MN, Holy TE, Taghert PH. Morning and Evening Circadian Pacemakers Independently Drive Premotor Centers via a Specific Dopamine Relay. Neuron. 2019 May 22;102(4):843-857.e4. doi: 10.1016/j.neuron.2019.03.028.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2557.

สถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป; 2559.

ดาวชมพู นาคะวิโร, สิรินทร ฉันศิริกาญจน์, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, อรพรรณ แอบไธสง, ภัทรา สุดสาคร, จารุณี วิทยาจักษุ์, และคณะ. การกระตุ้นความสามารถสมองด้านทักษะการจัดการ ความใส่ใจ ความจำและมิติสัมพัทธ์ในผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62(4):337-48.

ศศินี อภิชนกิจ, อาภาพรรณ นเรนทร์พิทักษ์, อุไรลักษณ์ หมัดคง, ปลันธนา อเวรา, ภัคณัฎฐ์ ผลประเสริฐ, อริศรา พิชัยภูษิต. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรกของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562;27(2):138-49.

ผกามาศ พิมพ์ธารา, พรชัย จูลเมตต์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. การศึกษานำร่องผลของโปรแกรมกระตุ้นศักยภาพสมองด้านการรู้คิดต่อการรู้คิด ในผู้สูงอายุที่มีภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2565; 30(3): 1-12.

American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5-TR) [Internet]. 2022 [cited: 2023 Oct 16]. Available from: https://www.psychiatry.org/psychiatrists/practice/dsm

ปิยลัมพร หะวานนท์. วสันต์ ปัญญาแสง. การพิจารณาขนาดตัวอย่าง. ใน: พิเชฐ สัมปทานุกุล. หลักการทำวิจัยสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2555: หน้า 261-79.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐโชติศักดิ์, วรรณประภา ชลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สวรรณชีพ. โครงการจัดทำโปรแกรมสําเร็จรูปในการสํารวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 22]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

สุวัฒน์ มหัตนิรันดรกุล, ปริทรรศ ศิลปกิจ, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่, 2540 [อินเตอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 22]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/whoqol.go.th

ณัชชา แรมกิ่ง, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, สารรัตน์ วุฒิอาภา. ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่อง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561;36(2):114-22.

ระพีพัฒน์ โฆษิตานนท์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2565;5(3):206-18.

อาทิตยา สุวรรณ์, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;5(2):21-32.

Griffiths J, Thaikruea L, Wongpakaran N, Munkhetvit P. Prevalence of Mild Cognitive Impairment in Rural Thai Older People, Associated Risk Factors and their Cognitive Characteristics. Dement Geriatr Cogn Dis Extra. 2020 Mar 26;10(1):38-45. doi: 10.1159/000506279.

Li L, Wang Y, Yan J, Chen Y, Zhou R, Yi X, Shi Q, Zhou H; Chongqing Aging Study Group. Clinical predictors of cognitive decline in patients with mild cognitive impairment: the Chongqing aging study. J Neurol. 2012 Jul;259(7):1303-11. doi: 10.1007/s00415-011-6342-0.

Fardin F., Pourshahriar H., Nejati V., Shokri O. Investigating the Effectiveness of Cognitive Enhancement on Quality of Life in the Elderly With Mild Cognitive Impairment. Practice in Clinical Psychology. 2023;11(2):177-86

Barban F, Annicchiarico R, Pantelopoulos S, Federici A, Perri R, Fadda L, Carlesimo GA, et al. Protecting cognition from aging and Alzheimer's disease: a computerized cognitive training combined with reminiscence therapy. Int J Geriatr Psychiatry. 2016 Apr;31(4):340-8. doi: 10.1002/gps.4328.

Hagovská M, Olekszyová Z. Impact of the combination of cognitive and balance training on gait, fear and risk of falling and quality of life in seniors with mild cognitive impairment. Geriatr Gerontol Int. 2016 Sep;16(9):1043-50. doi: 10.1111/ggi.12593.

Sherman DS, Mauser J, Nuno M, Sherzai D. The Efficacy of Cognitive Intervention in Mild Cognitive Impairment (MCI): a Meta-Analysis of Outcomes on Neuropsychological Measures. Neuropsychol Rev. 2017 Dec;27(4):440-484. doi: 10.1007/s11065-017-9363-3.

Savulich G, Piercy T, Fox C, Suckling J, Rowe JB, O'Brien JT, Sahakian BJ. Cognitive Training Using a Novel Memory Game on an iPad in Patients with Amnestic Mild Cognitive Impairment (aMCI). Int J Neuropsychopharmacol. 2017 Aug 1;20(8):624-633. doi: 10.1093/ijnp/pyx040.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23