ผลโปรแกรมอบรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติด ต่อความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นในการจัดการ ของบุคลากรโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิตยา สินธุ์ภูมิ โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • วาสนา สุระภักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ติดยาเสพติด, การจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ของบุคลากรในโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมอบรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา เท่ากับ 0.97, 2) แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87, 0.97 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด หลังได้รับโปรแกรมอบรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอบรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

นิตยา สินธุ์ภูมิ, โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

วาสนา สุระภักดิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 

สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการปฏิบัติงาน การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2566.

บัวลอย แสนละมุล, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;2(3):273-84.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, นาฏลดา นำภา, ธีราภา ธานี, สภาพร จันทร์สาม. การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวช สำหรับบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26(3):207-19.

Kynoch K, Wu CJ, Chang AM. Interventions for preventing and managing aggressive patients admitted to an acute hospital setting: a systematic review. Worldviews Evid Based Nurs. 2011 Jun;8(2):76-86. doi: 10.1111/j.1741-6787.2010.00206.x.

รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):851-67.

Caruso R, Antenora F, Riba M, Belvederi Murri M, Biancosino B, Zerbinati L, Grassi L. Aggressive Behavior and Psychiatric Inpatients: a Narrative Review of the Literature with a Focus on the European Experience. Curr Psychiatry Rep. 2021 Apr 7;23(5):29. doi: 10.1007/s11920-021-01233-z.

ชัยวุฒิ สุขสมานวงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(4):374-83.

Lien YY, Lin HS, Lien YJ, Tsai CH, Wu TT, Li H, Tu YK. Challenging mental illness stigma in healthcare professionals and students: a systematic review and network meta-analysis. Psychol Health. 2021 Jun;36(6):669-684. doi: 10.1080/08870446.2020.1828413.

นุสรา นามเดช, ดวงดาว อุบลแย้ม, นงคาร รางแดง. ปัจจัยทํานายความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ของบุคลากรทางสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565;28(2):1-15. E259001.

Edgar S, Connaughton J. Using Mental Health First Aid Training to Improve the Mental Health Literacy of Physiotherapy Students. Physiother Can. 2021 Spring;73(2):188-193. doi: 10.3138/ptc-2019-0036.

Ogawa T, Nakatani H. Factors associated with professional confidence in Japanese public health nurses: A cross-sectional survey. Public Health Nurs. 2020 Mar;37(2):272-280. doi: 10.1111/phn.12705.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-09