ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลันมารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ผู้นำส่งผู้ป่วย, ระยะเวลาการนำส่ง, โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันมารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำส่งผู้ป่วย จำนวน 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.1 อายุอยู่ในช่วง 46-55 ปี ร้อยละ 35.3 ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบุตร ร้อยละ 47.1 ระยะเวลาในการนำส่งผู้ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบว่าส่วนใหญ่มาทันเวลา หรือใช้เวลาไม่เกิน 270 นาที ร้อยละ 73.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันมารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สถานภาพสมรส (ORadj=2.134, 95%CI=1.054-4.320) การประเมินการรับรู้ความรุนแรงในระดับมากที่สุด (ORadj=0.428, 95%CI=0.208-0.881) การเรียกรถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน/รถบริการสาธารณะ/รถส่วนตัว (ORadj=8.263, 95%CI=1.908-35.773) ช่องทางการได้รับข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ในการนำส่ง (ORadj=0.532, 95%CI=0.320-0.884) และระยะทางมารับการรักษาน้อยกว่า 35 กิโลเมตร (ORadj=1.825, 95%CI=1.014-3.286) และระยะทางมารับการรักษาระหว่าง 36-70 กิโลเมตร (ORadj=2.190, 95%CI=1.059-4.530)
References
ชื่นกมล สิทธิยอดยิ่ง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565;2(2):46-60.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2566;39(2):39-46.
นันท์ณภัส สารมาศ, เรวดี เพชรศิราสัณห์, จอม สุวรรณโณ, เกียรติศักดิ์ ราชบริรักษ์. ปัจจัยทำนายการควบคุมความดันโลหิตตามเกณฑ์เป้าหมายในผู้ปาวยหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง อำเภอสิชล จังหวัดนครราชสีมาธรรมราช. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563;12(1):100-13.
กัญจน์ณิชา เยียดไธสง, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา, พจนีย์ ขูลีลัง. ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(1):148-56.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. ข้อมูลแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2562.
Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd ed. New York: Wiley; 1991.
Bloom B. Taxonomy of Educational Objectives, Handbook 1: Cognitive Domain. 2nd ed. New York: Addison-Wesley Longman; 1984.
Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th ed. New Jersey: Pearson; 2005.
ตวงทิพย์ บินไทยสงค์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามาถึงโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารเกื้อการุณย์. 2556;20(1):15-29.
สุปรียา สนธิ, ฐิฉัฐญา นพคุณ, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมารับการรักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลหัวหิน. วารสารวิทยาลัยลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2565;5(3):24-38.
วรรณา บุญสวยขวัญ, อมรรัตน์ กลับรอด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียรใหญ่.วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565;2(2):61-75.
ยุวเรศ รัตนประภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;13(4):13-27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9