ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด ของงานกายภาพบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, มาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด, งานกายภาพบำบัดผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความพึงพอใจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประชากรในการศึกษา คือผู้ป่วยนอกที่มารับบริการกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่มารับบริการกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ในระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 227 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความพึงพอใจต่อมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน t-test และ ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการงานกายภาพบำบัดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของงานกายภาพบำบัดพบว่า อายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดของทุกด้าน ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดของทั้ง 6 ด้าน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ประเภทของผู้ป่วยและสิทธิการรักษาที่แตกต่างกัน มีค่าคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดทั้ง 6 ด้านไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2567 กันยายน 23]. เข้าถึงได้จาก: https://phdb.moph.go.th/phdb2017/force_down.php?f_id=314
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. องค์ประกอบการจัดบริการการแพทย์วิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 แผนกผู้ป่วยนอกในสถานบริการสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กันยายน 23]. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/256261/175769
วันเพ็ญ เหลืองนฤทัย. ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(1):72-84.
ขนิษฐา จิตรอารีย์ และคณะ. การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มารับบริการในศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. 2556; 1020-3.
รัชนี หลงสวาสดิ์. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562;4(2):e0070.
วันเพ็ญ เหลืองนฤทัย, ปริญญา บรรจงมณี. ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อมาตรฐานการบริการด้านกายภาพบำบัด ของผู้ป่วยโรงพยาบาลของรัฐบาลในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคตะวันตก. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(5):67-74.
จรัสพร ปรีดาสุขสุรางค์. ความพึงพอใจจากการเข้ารับบริการทางกายภาพบำบัดของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.
วันเพ็ญ เหลืองนฤทัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อมาตรฐานการบริการด้านกายภาพบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. หัวหินเวชสาร. 2566;3(1):12-6.
ศุภมาศ อุ่นสากล, พยุงศักดิ์ ศักดาภิพาณิชย์, อนุพันธ์ หวลบุตตา. ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการด้านกายภาพบำบัด ณ โรงพยาบาลราชานุกูล. รายงานการศึกษาตามหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิตตามโครงการการการศึกษาแพทย์แนวใหม่. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
สมพล ศรีสุริยนต์. ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานด้านกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาชุมชน) สาขาจิตวิทยาชุมชน] ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549
Aday LA, Andersen R. Access to Medical Care. Ann Arbor, MI: Health Administration Press; 1975: 6-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9