การถอดบทเรียนการสื่อสารความเสี่ยงในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การสื่อสารความเสี่ยง, COVID-19, พื้นที่ชายแดน, การถอดบทเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการสื่อสารความเสี่ยง วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และข้อจำกัดในการสื่อสารความเสี่ยง และเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงในชุมชนชนบทพื้นที่ชายแดนในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ในพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง ผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยการใช้แนวคิด "ตื่นรู้ แต่ไม่ตื่นตระหนก" การสร้างทีมสื่อสารเฉพาะกิจ การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย และการใช้ผู้นำเป็นต้นแบบ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ความรวดเร็วในการตอบสนอง การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และการปรับข้อมูลให้เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น ส่วนข้อจำกัด ได้แก่ ข้อจำกัดด้านข้อมูล ความกังวลของประชาชนและบุคลากร และการตีตราผู้ป่วย
แนวทางการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงควรมุ่งเน้นการพัฒนาระบบและโครงสร้าง การเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม การพัฒนาทักษะบุคลากร การปรับปรุงกระบวนการสื่อสาร และการพัฒนาระบบการสื่อสารในพื้นที่ชายแดน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงในพื้นที่ชายแดนและเสริมสร้างความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพในอนาคต
References
World Health Organization. Risk communication and community engagement readiness and response to coronavirus disease (COVID-19): Interim guidance, 19 March 2020. Geneva: World Health Organization; 2020.
Covello VT. Best practices in public health risk and crisis communication. J Health Commun. 2003;8 Suppl 1:5-8; discussion 148-51. doi: 10.1080/713851971.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Vaughan E, Tinker T. Effective health risk communication about pandemic influenza for vulnerable populations. Am J Public Health. 2009 Oct;99 Suppl 2(Suppl 2):S324-32. doi: 10.2105/AJPH.2009.162537.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2564.
Reynolds B, W Seeger M. Crisis and emergency risk communication as an integrative model. J Health Commun. 2005 Jan-Feb;10(1):43-55. doi: 10.1080/10810730590904571.
Lwin MO, Lu J, Sheldenkar A, Schulz PJ, Shin W, Gupta R, Yang Y. Global Sentiments Surrounding the COVID-19 Pandemic on Twitter: Analysis of Twitter Trends. JMIR Public Health Surveill. 2020 May 22;6(2):e19447. doi: 10.2196/19447. PMID: 32412418;
Gesser-Edelsburg A, Cohen R, Hijazi R, Abed Elhadi Shahbari N. Analysis of Public Perception of the Israeli Government's Early Emergency Instructions Regarding COVID-19: Online Survey Study. J Med Internet Res. 2020 May 15;22(5):e19370. doi: 10.2196/19370.
Viswanath K, Lee EWJ, Pinnamaneni R. We Need the Lens of Equity in COVID-19 Communication. Health Commun. 2020 Dec;35(14):1743-1746. doi: 10.1080/10410236.2020.1837445.
Malecki KMC, Keating JA, Safdar N. Crisis Communication and Public Perception of COVID-19 Risk in the Era of Social Media. Clin Infect Dis. 2021 Feb 16;72(4):697-702. doi: 10.1093/cid/ciaa758.
Dryhurst S, Schneider CR, Kerr J, Freeman AL, Recchia G, Van Der Bles AM, et al. Risk perceptions of COVID-19 around the world. J Risk Res. 2020;23(7-8):994-1006.
Bandura A. Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.
Freimuth V, Linnan HW, Potter P. Communicating the threat of emerging infections to the public. Emerg Infect Dis. 2000 Jul-Aug;6(4):337-47. doi: 10.3201/eid0604.000403. Erratum in: Emerg Infect Dis 2001 Jan-Feb;7(1):167.
Lundgren RE, McMakin AH. Risk communication: A handbook for communicating environmental, safety, and health risks. Hoboken (NJ): John Wiley & Sons; 2018.
Bavel JJV, Baicker K, Boggio PS, Capraro V, Cichocka A, Cikara M, et al. Using social and behavioural science to support COVID-19 pandemic response. Nat Hum Behav. 2020 May;4(5):460-471. doi: 10.1038/s41562-020-0884-z.
Fischhoff B. The sciences of science communication. Proc Natl Acad Sci U S A. 2013 Aug 20;110 Suppl 3(Suppl 3):14033-9. doi: 10.1073/pnas.1213273110.
Glik DC. Risk communication for public health emergencies. Annu Rev Public Health. 2007;28:33-54. doi: 10.1146/annurev.publhealth.28.021406.144123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9