การพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ คงเกษม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สมฤทัย ผดุงพล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • พุทธา สมัดไชย โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ความรู้, โควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้ และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์และสรุปรูปแบบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยโรค COVID-19 จำนวน 41 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 206 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test กำหนดระดับสำคัญทางสถิติที่ 0.001

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 และเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนความรู้เพิ่มมากขึ้น หลังได้รับระบบเสริมสร้างความรู้ฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ก่อนได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.59 คะแนน และหลังได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 18.44 คะแนน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.53 คะแนน และหลังได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 18.50 คะแนน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะให้
มีการทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ให้กับประชาชน และควรมีการพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพชุมชนโรคอื่นๆ ด้วย ร่วมกับมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

Author Biographies

พิชามญชุ์ คงเกษม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

สมฤทัย ผดุงพล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

พุทธา สมัดไชย, โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19dashboard

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์. ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สู่การปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี. วารสารร้อยแก่นสาร. 2563;6(9): 126-41.

เสาวณี จันทะพงษ์. เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 : โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bot.or.th/Thai/BTMagazine

สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chaiyaphum.go.th/page_other/Plan_cyp2561-2564.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. การดำเนินงานควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://cpho.moph.go.th/?page_id=33381

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8962

โอภาส การย์กวินพงศ์. เจาะลึกระบบสุขภาพ Hfocus [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/11/26414

Kemmis S, Carr W, McTaggart R. Action Research Planner [Internet]. 2005. [Cited 2022 May 1]. Available from: https://psycnet.apa.org/record/2005-07735-023

ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารพัฒนาชุมชน. 2531;7(2):25-8.

Best J, Kahn J. Research in education. 10th ed. New York: Pearson; 2005.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(1):33-48.

สาวนีย์ ทองนพคุณ, ธัชธา ทวยจด, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, สาวิตรี วิษณุโยธิน. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2565;17(2):42-55.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

วิลาวัลย์ พงษ์บุตร. ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 2566;2(1):89-96.

จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส, จิราวรรณ กล่อมเมฆ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชากร วัยทำงานในตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก. 2564;23(1):437-45.

กรรณิกา เพ็ชรักษ์, ศรีอุบล อินทร์แป้น, รศิกาญจน์ พลจำรัสพัชญ์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์ ต่อความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด-19. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566;20(1):195-202.

Gagné RM, Dempsey. The conditions of learning and theory of instruction. British Journal of Educational Technology. 2002;33(4):365-6.

กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(2):623-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-10