ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กวัย 3-6 ปี, พ่อแม่ ผู้ปกครองบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาการของเด็กวัย 3-6 ปี กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ระดับพัฒนาการและระดับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการและการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปีของพ่อแม่ผู้ปกครองในจังหวัดนครราชสีมา ประชากรเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กวัย 3-6 ปี ที่เรียนในศูนย์พัฒนาการเด็ก ปี 2567 ในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 73,154 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan สุ่มตัวอย่างตามระดับชั้นภูมิของอำเภอและตำบล สุ่มตัวอย่างแบบง่ายในศูนย์พัฒนาการเด็กตามเป้าหมายจำนวน 382 คน ตรวจสอบแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาคุณภาพของเครื่องมือโดยทดลองใช้แบบสอบถามที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาด้วยวิธีของCronbach มีค่าเท่ากับ 0.74 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือการทดสอบไคสแคว์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 46.50 มีระดับของพัฒนาการสมวัยระดับปานกลางร้อยละ 67.54 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอยู่ระดับปานกลางร้อยละ 96.83 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กคือ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ความสัมพันธ์กับเด็ก จำนวนบุตรและลำดับที่ของบุตรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กคือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความสัมพันธ์กับเด็ก จำนวนบุตร และลำดับที่ของบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนปฏิบัติการด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยของกระทรวง
ศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2567). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. แนวทางการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: โชคชัยเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. แนวทางการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: โชคชัยเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2567.
Green LW, Kreuter MW. Health Promotion Planning: An Education and Environmental Approach. Toronto: May-field Publishing Company; 1991.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement; 1997:30(3):607-10.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุริยาสาสน์การพิมพ์; 2553.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จามจุรี โปรดักส์; 2553.
สุวิมล ติรกานนท์. การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549
Khanam SJ, Khan MN. Examining the influence of child nutritional disorders on early childhood development in Bangladesh: insights from the multiple indicator cluster survey. Public Health Nutr. 2024 Feb 22;27(1):e76. doi: 10.1017/S1368980024000521.
ลาวรรณ ศรีสูงเนิน, พิสิษฐ์ ศิริรักษ์, สรัญธร ฉันทวรเทพ,จิตเกษม ทองนาค และ กัลยา นิ่มจิต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอายุ 2 ปี ถึง 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเซนระดับชาติครั้งที่ 4. วันที่ 7 พฤษภคม 2564. ณ วิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.2564;21(3):393-6.
ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์; 2561: 5(2),161-71.
ยุทธนา ศิลปรัสมี, สิตา ฤทธิ์ธาธรรม, วีณา ธิติประเสริฐ, เสาวลักษณ์ วงศ์นาถ. การศึกษาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช; 2560.
ชัชฎา ประจุดทะเก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2561;28(12):5-20.
อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ปราณี พงษ์จินดา. เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย: กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตกองทัพภาคที่ 3. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ; 2563.
ปองทิพย์ ใจเมา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.
พรศิริ แสนตุ้ม, วราภรณ์ นาคะศิร. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 2566;66(1): 75-85.
ณิชกุล พิชาชาญ, กิตติพงษ์ สอนล้อม, ศิริภัททรา จุฑามณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2566;31(3):128-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9