การพัฒนานวัตกรรมหมวกปิดตาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษา

ผู้แต่ง

  • นันทภัค สมฤทธิ์, พย.บ. หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • กฤตยา วงศ์ใหญ่, พย.บ. หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • สายหยุด ภาชะนนท์, พย.บ. หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • วารุณี มีหลาย, ปร.ด. สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, หมวกปิดตา, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การส่องไฟรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลนวัตกรรมหมวกปิดตาสำหรับทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา

วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยและพัฒนานี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์และพัฒนานวัตกรรม และ 2) การทดลองใช้และประเมินผลนวัตกรรม ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินอุบัติการณ์การปิดตาทารก และแบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาและพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ t-test, Chi-square, Fisher's exact และ Mann-Whitney U

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีอัตราการเลื่อนหลุดของผ้าปิดตาและการเกิดผิวหนังแดงถลอกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มารดาในกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมาก แต่พึงพอใจต่อวิธีเดิมในระดับน้อย ข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม

สรุป: นวัตกรรมหมวกปิดตามีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์การเลื่อนหลุดและการเกิดผิวหนังแดงถลอก รวมทั้งเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้งาน

ข้อเสนอแนะ: ควรจัดอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการใช้งานนวัตกรรมอย่างถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

Author Biographies

นันทภัค สมฤทธิ์, พย.บ., หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

กฤตยา วงศ์ใหญ่, พย.บ., หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สายหยุด ภาชะนนท์, พย.บ., หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

วารุณี มีหลาย, ปร.ด., สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

อาจารย์ประจำสาขา

References

American Academy of Pediatrics. Clinical practice guideline revision: Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or More Weeks of gestation. Pediatrics. 2022;150(3). P 1-27.

จันทรมาศ เสาวรส. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. ราชาวดีสารวิทยาลัยบรมราชชนนีสุรินทร์. 2562;9(1):99-109.

สถิติหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ. บันทึกเวชระเบียนจำนวนทารกป่วยในแผนกบริบาลทารก. 2566; ข้อมูลปี 2564 ถึง ปี 2566.

อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. แนวทางการดูแลทารกตัวเหลืองในทารกแรกเกิดอายุครรภ์อย่างน้อย 35 สัปดาห์: การรักษาภาวะตัวเหลืองและการติดตามเมื่อทารกกลับบ้าน. ใน: สันติ ปุณณหิตานนท์, บรรณาธิการ. Practice Updates in Neonatology. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด; 2566. หน้า 205-224.

วีณา จีระแพทย์. บทบาทพยาบาลในการบ่งชี้ ติดตาม และเพิ่มประสิทธิภาพการส่องไฟเพื่อจัดการภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิด. ใน: สันติ ปุณณหิตานนท์, บรรณาธิการ. Practice Updates in Neonatology. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด; 2566. หน้า 225-244.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา, บรรณาธิการ. การพยาบาลเด็ก เล่ม 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2556.

กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. ใน: ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ดิลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. ตำราการพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หจก. พรี-วัน; 2555. หน้า 378-92.

ปาริชาติ ดำรงรักษ์. การดูแลผิวหนังทารกแรกเกิด (Skin care in neonate). ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ, บรรณาธิการ. Essential Neonatal Problem. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด; 2549. น. 221-229.

Deming WE. The new economics for industry, government, education. 2nd ed. Cambridge, MA: The MIT Press; 2000.

วนิสา หะยีเซะ, ลาตีฟาร์ มนุกูล, ยามีละห์ ยะยือรี, มาดีฮะห์ มะเก็ง. การพัฒนาผ้าปิดตาสื่อรักขณะส่องไฟรักษาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562; 33(3):1-14.

Suresh K, Chandrashekara S. Sample size estimation and power analysis for clinical research studies. J Hum Reprod Sci. 2012;5(1):7-13. doi:10.4103/0974-1208.97779.

ชนัญชิดา ณะสม, สาคร ชลสาค, ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล. การออกแบบหมวกคลุมศีรษะสำหรับป้องกันดวงตาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2566;16(2):1-12.

ชรินทร์พร มะชะรา และคณะ. การพัฒนานวัตกรรมผ้าปิดตาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”. 2560; 509-520.

Kalane S, Wagh S, Deshpande MJ. Giggles: Development of a New Eye Covering Device Used During Neonatal Phototherapy. J Pediatric Neonatal. 2022;4(2):1-6.

Meleis AI. Transitions theory: Middle range and situation specific theories in nursing research and practice. New York: Springer Publishing Company; 2010.

สุชาดา ธนะพงค์พร. ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: การพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. 2557;8(8):63-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-09