การพัฒนาเกณฑ์การประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์
คำสำคัญ:
การพัฒนาเกณฑ์ประเมิน, อนามัยสิ่งแวดล้อม, การท่องเที่ยววิถีใหม่, แหล่งท่องเที่ยวชุมชน, มาตรฐานโฮมสเตย์บทคัดย่อ
การวิจัยผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการสังเคราะห์แนวคิดผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย และระเบียบวิธีเชิงปริมาณยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 22 คน ในการพัฒนาเกณฑ์ด้วยเทคนิคเดลฟาย และกลุ่มนักท่องเที่ยว 400 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มเกณฑ์และตัวชี้วัด การวิเคราะห์ข้อมูลเดลฟายรอบที่ 2 ด้วยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 เพื่อยืนยันตัวชี้วัดย่อยอยู่ในแต่ละเกณฑ์
ผลการศึกษาจากการทำเดลฟายเทคนิค 2 รอบ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1พบว่าเกณฑ์ของแบบประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์ ประกอบด้วย 14 เกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ที่พัก 20 ตัวชี้วัด, สุขภาพอนามัยส่วนบุคคลของพนักงานผู้ให้บริการ 8 ตัวชี้วัด, การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ 8 ตัวชี้วัด, การจัดการมูลฝอยปนเปื้อนสารคัดหลั่ง 9 ตัวชี้วัด, การจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ 7 ตัวชี้วัด, การบริการอาหาร 22 ตัวชี้วัด, การบริการน้ำดื่มน้ำใช้ 13 ตัวชี้วัด, การจัดการขยะมูลฝอย 11 ตัวชี้วัด, การจัดการส้วมสาธารณะ 25 ตัวชี้วัด, สุขลักษณะที่ดีของอาคารสถานที่ 9 ตัวชี้วัด, การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 8 ตัวชี้วัด, ระบบป้องกันอัคคีภัย 7 ตัวชี้วัด, การท่องเที่ยวด้วยรถยนต์/รถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง 6 ตัวชี้วัด, และ การท่องเที่ยวทางเรือ 14 ตัวชี้วัด
References
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 2560;13(2):25-46.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). ท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based tourism). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน); 2558.
ดนัย บวรเกียรติกุล. งานอนามัยสิ่งแวดล้อมกับการท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 2561;13(1):81-92.
สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ. การสุขาภิบาลที่พักอาศัยและหน่วยงาน ในเอกสารการสอนชุดวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมหน่วยที่ 8-15. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554. น.310-410.
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย (Thailand Homestay Standard). กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา; 2558.
กองกฎหมาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/act-of-doh/204256
กองกฎหมาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/ministry-rule/download/?did=204266&id=71586&reload=
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักบริบาลสุขา. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
คลังสารสนเทศสถานิติบัญญัติ. กฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/99551?show=full
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ใช้ชีวิตวิถีใหม่แบบ New Normal [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 11]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/video-knowledges/vdo-new-normal/
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. การนำทคนิคเดลฟายไปใช้สำหรับการวิจัย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2560; 4(2):47-64.
Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. Hampshire: Cengage Learning EMEA; 2019.
พงศ์เทพ จิระโร. บทวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยควอร์ไทล (IQR) จากแบบวัดที่เป็นมาตราประมาณค่าโดยการกำหนดหนัก กับ ไม่กำหนดน้ำหนัก ให้สมาชิกค่าคะแนนเดียวกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;32(1):1-13.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
สำนักอนามัยสำนักสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวที่เปนมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดลอม (Green and health attraction). กรุงเทพฯ: สํานักอนามัยสำนักสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรับรองมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร: สถานที่จำหน่ายอาหาร [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/san/download?id=114841&mid=38922&mkey=m_document&lang=th&did=34264
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9