ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, สวัสดิการ, ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระรูปแบบ Problem-based solving ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการลาออก ขอย้าย ขอโอน ไปหน่วยงานอื่น ของบุคลากร สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 196 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าความแปรปรวนทางเดียว และใช้สถิติถดถอยพหุคูณ Multiple regression analysis
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.6 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 32.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 49.5 สถานภาพโสด ร้อยละ 46.4 ส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.8 มีความผูกพันเกี่ยวกับความสุขโดยรวม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเรื่อง ตอบแทนผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือมากที่สุดร้อยละ 49.5 รองลงมา ระดับมาก เรื่องความรู้สึกเอื้ออาทร หรือห่วงใยคนรอบข้าง ร้อยละ 55.1
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าไม่เป็นไปตามสมมติฐาน คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร ไม่ต่างกัน และเป็นไปตามสมมติฐาน คะแนนความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านนันทนาการ ด้านวันหยุด ที่ได้รับต่างกันส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570) และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.พ.; 2566.
Maslow AH. Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In Craven RF, Hirnle CJ, editors. Fundamental of Nursing: Human Health and Function. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2000.
ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2539.
สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ตำราในการวิจัยเชิงสำรวจในงานสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โนเบิ้ลพริ้นจำกัด; 2561.
ประภัทสรณ์ ชำนาญเวช, ฐิติยา นามทอง, ปรีดา สุระเสียง, พัสกร อาวรณ์, สงกรานต์ ท่าทราย, ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่). วิทยาลัยการจัดการ วไลย อลงกรณ์ ปริทัศน์. 2564;2(1):18-34.
ชวนชม พ่วงตระกูล, ภิเษก ชัยนิรันดร์. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการและลูกจ้างสำนักตรวจเงินแผ่นดินภาค 7 (จังหวัดขอนแก่น). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 2559;11(37):23-32.
วรรณวิไล หุยประเสริฐ. ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานส่วนปฏิบัติการสถานนี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) [สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ธนวัลย์ เจริญสุข. ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของบริษัท GGG จำกัด (มหาชน). วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2566;49(1):103-14.
ณัฐชา เหลืองวสุวัฒน์, ฐิดาทิพ ปานโรจน์, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานโรงงาน อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในเครือฯ. 2556 ครั้งที่ 1, 4 กุมภาพันธ์ 2566: 1393-403.
เดชา เดชะวัฒนโพศาล. การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9