การศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับการพัฒนาโมเดลในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพอกน้อย

ผู้แต่ง

  • ศวิตา ศรีสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • พัสกร องอาจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • ลำไพ วจีสิงห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
  • กนกวรรณ มีกำพี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • ลีลวัฒน์ กองศูนย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, การพัฒนาโมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยผู้ให้ข้อมูลมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุผ่านการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักสูตรกลางของประเทศไทย โดยสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต้องการอบรมฟื้นฟูความรู้ รวมทั้งต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการเพิ่มศักยภาพรูปแบบการทำงานให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพและคุณภาพในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ควรมีการกำหนดนโยบายการอบรมฟื้นฟูความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ

References

Knodel J, Chayovan N. Population aging and the well-being of older persons in Thailand: Past trends and future prospects. Asian Popul Stud. 2012;8(1):1-21. doi: 10.1080/17441730.2012.654135.

Yiengprugsawan V, et al. Community-based integrated care for older adults in Thailand. J Aging Soc Policy. 2018;30(4):365-377. doi: 10.1080/08959420.2018.1476317.

World Health Organization. Ageing and health [Internet]. Geneva: WHO; 2022 [cited 2024 Oct 27]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

Ministry of Public Health, Thailand. Caregiver Training Manual. Bangkok: Ministry of Public Health; 2021.

González R, García A, González C. The role of technology in elderly care: Improving healthcare delivery and accessibility. J Aging Technol. 2020;15(2):102-15.

World Health Organization (WHO). Ageing and health: Promoting healthy ageing. Geneva: WHO Press; 2021.

Kwak SJ, Lee JY, Choi YK. Long-term care challenges and strategies in resource-limited settings. J Glob Health. 2021;16(4):45-56.

World Health Organization (WHO). Global strategy and action plan on ageing and health. Geneva: WHO Press; 2020.

กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2023.

World Health Organization. Ageing and health: Promoting healthy ageing. Geneva: World Health Organization; 2021.

Sakurai R, Takahashi M, Sakamoto N. The role of caregivers in elderly care: Enhancing the quality of care through education and training. Int J Geriatr Care. 2021;22(2):100-112.

Cohen L, Kelly A, Ward J. Case management in community-based care for the elderly: A framework for practice. J Community Health Nurs. 2020;37(4):209-218.

Harrison S, Macdonald S, Wiles JL. The role of caregiver training in elderly care: The impact of continuous education on quality of care. J Gerontol Nurs. 2020;46(3):30-38.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มิถุนายน 29], เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สังคมสูงวัย. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มิถุนายน 29], เข้าถึงได้จาก: https://www.msociety.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/20463/21073.pdf

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):44-62.

จันทรา พรหมน้อย, เพลินพิศ ฐานิวัฒน์, ประนอม หนูเพชร. ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2548;23(6):405-412.

Chompunud N, et al. Training and technology adaptation for caregivers in aging societies. [Place of publication unknown]: [Publisher unknown]; 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-13

How to Cite

ศรีสวัสดิ์ ศ., องอาจ พ., วจีสิงห์ ล., มีกำพี้ ก., กองศูนย์ ล., & อึ้งเจริญ ร. (2025). การศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับการพัฒนาโมเดลในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพอกน้อย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(2), 496–505. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272899