การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริชัย จันพุ่ม สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี https://orcid.org/0000-0001-5723-5933
  • สุนทรี จีนธรรม สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ, 3R, การจัดการขยะของเทศบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรเทศบาล และประชาชน จำนวน 384 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน และผ่านการตรวจเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97, 0.95 และ 0.91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาวิจัยสภาพการจัดการขยะ พบว่า ชุมชนมีปริมาณขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตรายมีระดับน้อย สำหรับวิธีการจัดการขยะอินทรีย์โดยการทำปุ๋ยหมักมากที่สุด (ร้อยละ 36.6) ขยะรีไซเคิล และขยะทั่วไปเก็บไว้ขายมากที่สุด (ร้อยละ 95.1 และร้อยละ 71.6) ส่วนขยะอันตรายมีวิธีจัดการโดยเก็บแยกไว้มากที่สุด (ร้อยละ 52.6) ปัญหาการจัดการขยะ ได้แก่ ด้านเหตุรำคาญ การจัดการขนส่งขยะ จุดทิ้งและที่พักขยะ และการคัดแยกขยะ โดยรวมมีระดับน้อย (equation=2.088, SD=0.953) และความต้องการในการจัดการขยะโดยหลัก 3 R ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน การนำวัสดุมาใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง การนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการขยะ และการนำมาตรการ ระเบียบของเทศบาลและกระบวนการมีส่วนร่วม โดยรวมมีระดับมาก (equation=3.615, SD=0.773) ดังนั้น ควรส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเทศบาลและชุมชนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะของชุมขนในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น และนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการธนาคารขยะอย่างยืนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเทศบาลที่ประสบความสำเร็จโดยการสร้างกลไกการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

References

เพ็ญศรี ชิตบุตร, วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ, เสกสรร ศรีสุข. พฤติกรรมและความต้องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลตําบลท่าเกษม อําเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่.2564; 6(6):147-54.

ปุณฐ์นัฐย์ดา อิสริยาพร. รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของจังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 2560; 4(2):52-63.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3):607-10.

พัฒน์ พิสิษฐเกษม. การบูรณาการการจัดการโลจิสติกส์ในเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารรัชต์ภาคย์. 2565;15(46):24-37.

สมถวิล อัมพรอารีกุล, สมรักษ์ ศิริเขตรกรณ์, อัญชลีพร อมาตยกุล. การสํารวจสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาของบุคลากรพยาบาลในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2565; 4(3):111-20.

กัณทรัต นวลมา, ธีระ ฤทธิรอด, สุมนต์ สกุลไชย. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม โดยการมีส่วนร่วม ของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโนนคอม อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 2017;11(38):77-85.

กิตติ์ พรหมสงฆ์, ปริญญา ทุมสท้าน. การจัดการปัญหาขยะแบบยั่งยืนของเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิยาลัยปทุมธานี. 2559;11(38):77-85.

จำเนียร วงษ์ศรีแก้ว, บุญเลิศ วงค์โพธิ์, วินัย วีระวัฒนานนท์, ศิริชัย จันพุ่ม. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลต้นแบบ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567; 18(1):13-25.

นงกต สวัสดิชิตัง, กฤตติกา แสนโภชน์, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ, สืบชาติ อันทะไชย. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 2557;3(1):47-64.

พระบุญธรรม ชุ่มเย็น, สุนทรี จีนธรรม, ปัณณ์รภัส ถกลภักดี. รูปแบบการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของวัดจังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2561; 6(1):332-43.

มงคลกร ศรีวิชัย, ชายแดน พิรุณเดช, ธีระพงษ์ วงศ์สอน, จาตุรนต์ กาศมณี. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2557; 2(3):245-54.

มนจิรา ถมังรักษ์สัตว์, อรทัย ทิมพงษ์, อัจฉรา ทุเครือ. การสำรวจการจัดการสิ่งแวดล้อมของช่องทางเข้าออกประเทศพรมแดนทางบกในประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2561;44(4):337-48.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. ประชากรกลางปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กันยายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://khonkaen.gdcatalog.go.th/

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2553.

Kareema MIF, Bt Zubairi AM. Validity of an Online Reading Assessment: A Survey Among Sri Lankan University Students. Proceedings of Eighth International Conference of Sabaragamuwa University of Sri Lanka [Internet]. 2021; [Retrieved 2024 September 21]. Available from: http://ir.lib.seu.ac.lk/bitstream/123456789/6223/1/Kareema_Ainol_ICSUSL_2021.pdf

สุพรรณษา จิราภานุสรณ์, ฉัตรชัย โชติษฐยางกูร. การพัฒนาแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการขยะชุมชนกรณีศึกษา : เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2560; 10(2):22-32.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว, ประภัสสร อักษรพันธ์. ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2561; 5(2):232-48.

อมร ทรงพุฒิ. การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนของยุวชนในอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;10(2):74-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

จันพุ่ม ศ., จีนธรรม ส., & โพธิ์ประดิษฐ์ อ. (2025). การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(2), 551–567. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/273047