การศึกษาผลสำเร็จของผู้ป่วยที่ได้เสียชีวิตในสถานที่ที่ได้ระบุไว้ในการวางแผน การดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มานะประเสริฐศักดิ์ โรงพยาบาลสระบุรี
  • ศรัณย์ วีรเมธาชัย โรงพยาบาลสระบุรี
  • ภัชรี สมบัติที แผนกดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

สถานที่ที่ต้องการเสียชีวิต, การดูแลประคับประคอง, ปัจจัยที่มีผลต่อสถานที่เสียชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสำเร็จของผู้ป่วยที่ได้เสียชีวิตในสถานที่ที่ได้ระบุไว้ในการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลจากทีมประคับประคองโรงพยาบาลสระบุรี และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเสียชีวิตที่บ้านตามที่ผู้ป่วยต้องการ

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบ Prospective cross-sectional study ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้ทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้าที่ได้รับการดูแลจากทีมประคับประคอง ในโรงพยาบาลสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567-30 พฤศจิกายน 2567 จำนวน 53 คน เก็บข้อมูลลักษะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก สถานที่ที่ต้องการเสียชีวิต หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต ได้ทำการเก็บข้อมูล สถานที่เสียชีวิตจริง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเสียชีวิตที่บ้านตามที่ต้องการ

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 53 คน พบว่า ผู้ป่วยได้เสียชีวิตในสถานที่ที่ต้องการจำนวน 36 คน จาก 53 คน คิดเป็นร้อยละ 69.8 โดยผู้ป่วยที่อยู่ในอำเภอเมืองและมีบุตรเป็นผู้ดูแล มักประสบความสำเร็จในการเสียชีวิตที่บ้าน แต่ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ (OR=1.19, 95% CI: 0.27, 5.25 และ OR 2.08, 95% CI: 0.5, 8.71 ตามลำดับ) และในกลุ่มที่มีอาการปวดและหอบเหนื่อย มักไม่ประสบความสำเร็จในการเสียชีวิตที่บ้าน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=0.5, 95% CI: 0.06, 5.35 และ OR 0.9, 95% CI:0.24, 3.45 ตามลำดับ)

สรุปผล: ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ส่วนใหญ่ได้เสียชีวิตในสถานที่ที่ต้องการ โดยจากการศึกษา ไม่มีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเสียชีวิตที่บ้านอย่างมีนัยสำคัญ

Author Biographies

อัจฉรา มานะประเสริฐศักดิ์, โรงพยาบาลสระบุรี

แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว

ศรัณย์ วีรเมธาชัย, โรงพยาบาลสระบุรี

อาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

ภัชรี สมบัติที, แผนกดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลสระบุรี

พยาบาลวิชาชีพ

References

Kritika Sawanrungruang, Suleeporn Sangrajrang, Rangsiya Buasom. Cancer Incidence in Thailand. In: Jinda Rojanamatin, editors. Cancer in Thailand. Bangkok: Medical Record and Databased Cancer Unit; 2021. P 6-67.

World Health Organization. Palliative care [internet]. Updated 2020 Aug 5 [cited 2024 Jan 8]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

ไทย.กฎหมาย, พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2567 ก.พ. 2]. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 65 ก (ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2553). เข้าถึงได้จาก: http://www.thailivingwill.in.th/sites/default/files/025_livingwill.pdf

นิลวรรณ นิมมานวรวงศ์. สถานที่(ตาย)นั้นสำคัญไฉน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เม.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/article/postgrad/writer18/place_of_death

Gustafson DH. A good death. J Med Internet Res. 2007 Mar 14;9(1):e6. doi: 10.2196/jmir.9.1.e6.

Kinoshita H, Maeda I, Morita T, Miyashita M, Yamagishi A, Shirahige Y, Takebayashi T, Yamaguchi T, Igarashi A, Eguchi K. Place of death and the differences in patient quality of death and dying and caregiver burden. J Clin Oncol. 2015 Feb 1;33(4):357-63. doi: 10.1200/JCO.2014.55.7355.

Pinto S, Lopes S, de Sousa AB, Delalibera M, Gomes B. Patient and Family Preferences About Place of End-of-Life Care and Death: An Umbrella Review. J Pain Symptom Manage. 2024 May;67(5):e439-e452. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2024.01.014.

Blanchard CL, Ayeni O, O'Neil DS, Prigerson HG, Jacobson JS, Neugut AI, Joffe M, Mmoledi K, Ratshikana-Moloko M, Sackstein PE, Ruff P. A Prospective Cohort Study of Factors Associated With Place of Death Among Patients With Late-Stage Cancer in Southern Africa. J Pain Symptom Manage. 2019 May;57(5):923-932. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2019.01.014.

ภมรรัตน์ ศรีธาราธิคุณ, ศิริจิต เนติภูมิกุล. ผลของการวางแผนการดูแลล่วงหน้าต่อการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตในคลินิกการดูแลประคับประคอง โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2564;4(1):97-111.

Bell CL, Somogyi-Zalud E, Masaki KH. Factors associated with congruence between preferred and actual place of death. J Pain Symptom Manage. 2010 Mar;39(3):591-604. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2009.07.007.

Ngamjarus C. Sample Size Calculation for Health Science Research. Khon Kaen: Khon Kaen University Printing House; 2021.

Lee EJ, Lee NR. Factors associated with place of death for terminal cancer patients who wished to die at home. Medicine (Baltimore). 2022 Sep 30;101(39):e30756. doi: 10.1097/MD.0000000000030756.

ปรารถนา โกศลนาคร. การศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเลือกสถานที่ดูแลระยะสุดท้ายและสถานที่เสียชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2559;60(3):354–64.

สมประสงค์ นักขัตระ, ศรัณย์ วีรเมธาชัย, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์. การศึกษาความชุกของอาการปวดและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามแบบประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายหน่วยระบบบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2564;4(2):182-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-23

How to Cite

มานะประเสริฐศักดิ์ อ. ม., วีรเมธาชัย ศ., & สมบัติที ภ. (2025). การศึกษาผลสำเร็จของผู้ป่วยที่ได้เสียชีวิตในสถานที่ที่ได้ระบุไว้ในการวางแผน การดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(2), 538–550. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/273423