ผลของดนตรีต่อภาวะหลับตื่นของทารกคลอดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤตทารกแรกเกิด
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบข้ามสลับ (crossover design) เพื่อศึกษา ผลของดนตรีต่อภาวะหลับตื่นของทารกคลอดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤตทารกแรก เกิด โดยใช้กรอบแนวคิดของแอลส์ (Als’s Synactive Theory of Development) กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 28-36 สัปดาห์ และได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลรามาธิบดี จังหวัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือน สิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย กลุ่ม ตัวอย่างถูกสุ่มทำการทดลอง 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ทดลอง ทารกได้ฟังดนตรีหลังบันทึกสัญญาณชีพ 30 นาที และเหตุการณ์ควบคุม ทารกได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน the Anderson Behavioral State Scale ฉบับภาษาไทย ประเมินการหลับตื่น โดยการถ่ายวีดิทัศน์เพื่อให้ได้ภาพพฤติกรรมการหลับตื่นของทารก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติบรรยาย ส่วนข้อมูลการหลับตื่นของทารกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และ สถิติ Wilcoxon signed ranks test ผลการศึกษา พบว่า ทารกคลอดก่อนกำหนด 20 ราย ภายหลัง เริ่มฟังดนตรี 5 นาที และ 30 นาที มีระดับการนอนหลับที่ลึกกว่าทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่ได้ ฟังดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนหลับในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤตทารกแรกเกิดได้
คำสำคัญ: ทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะหลับตื่น หน่วยบำบัดวิกฤตทารกแรกเกิด ดนตรี
Abstract
The present quasi-experimental research with the crossover design aimed at investigating the effect of music on the sleep-wake states of premature infants in the neonatal intensive care unit (NICU) based on Als’ Synactive Theory of Development. The study sample consisted of 20 premature infants with gestational age ranging from 28 to 36 months who were hospitalized in the NICU at Ramathibodi Hospital between August and October, 2009. The infants were selected using purposive sampling. Every premature infant was randomly selected to receive either the experimental conditionlistening to music 30 minutes after vital signs were recorded, or the control conditionreceiving routine nursing care conditions. Data were collected using the Thai version of Anderson Behavioral State Scale. Demographic characteristics of the sample data were analyzed using descriptive statistics, and sleep-wake states of premature infants data were analyzed using the chi-square test, and the Wilcoxon signed rank test. The study findings showed that when premature infants listened to music at 5 and 30 minutes after vital signs were recorded, they slept more deeply than when they did not listen to music with statistical significance at .01 and .001 levels, respectively. Based on these findings, it can be used as an intervention to promote sleep in premature infants in the NICU.
Keywords: Premature infants, Sleep-wake states, Neonatal Intensive Care Unit, Music
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น