การเปรียบเทียบผลของการใช้ผ้าพันหน้าท้องแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกกับผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปของสตรีหลังผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี

Main Article Content

Pornsri Disorntatiwat
Nitaya Rotjananirankit

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวด คะแนนความพึงพอใจของสตรีหลังผ่าตัดคลอดและเจ้าหน้าที่พยาบาลต่อการใช้ผ้าพันหน้าท้องแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกกับผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปและระยะเวลาในการใช้ผ้าพันหน้าท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีหลังผ่าตัดคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 20 คนเลือกแบบเจาะจง  และเจ้าหน้าที่พยาบาลของหอผู้ป่วยสูติกรรมจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบประเมินความปวดโดยใช้มาตรวัดความปวดชนิดเป็นตัวเลข แบบสอบถามความพึงพอใจ หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.96 และ 0.89 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบ ที และ การถดถอยเชิงเส้นหลายขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนความปวดแผลก่อนและหลังได้รับการพันผ้าหน้าท้องทั้งแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกและผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปของสตรีหลังผ่าตัดคลอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความปวดที่ลดลงภายหลังใช้ผ้าพันหน้าท้องทั้ง 2  ชนิดไม่แตกต่างกัน สตรีหลังผ่าตัดคลอดมีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้ผ้าพันหน้าท้องทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่มีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้ผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปมากกว่าผ้าพันหน้าท้องแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ ระยะเวลาในการใช้ผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปน้อยกว่าแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดของสตรีหลังคลอดได้


 


คำสำคัญ: ผ้าพันหน้าท้อง ความปวด สตรีหลังผ่าตัดคลอด

Article Details

How to Cite
1.
Disorntatiwat P, Rotjananirankit N. การเปรียบเทียบผลของการใช้ผ้าพันหน้าท้องแบบ 12 สายผูกด้วยเชือกกับผ้าพันหน้าท้องแบบ 3 สายติดเวลโครเทปของสตรีหลังผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี. Nurs Res Inno J [อินเทอร์เน็ต]. 16 กรกฎาคม 2018 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];24(1):80-93. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/114099
บท
บทความวิจัย

References

1. Pinchaleaw D, Bhoosahas P. Related to women’s distress after cesarean section. JRTAN. 2015;16 (1):101-8.
(in Thai)

2. Good M, Stanton-Hicks M, Grass JA, Anderson GC, Makii M, Geras J. Pain after gynecologic surgery. Pain
Manag Nurs. 2000;1(3):96-104.

3. Portet M, Van Teijlingen E, Chi Ying Yip L, Bhattacharya S. Satisfaction with ceasarean section: qualitative analysis
of open–ended questions in a large postal survey. Birth. 2007;34(2):148-54.

4. Pinchaleaw D, Serisathien Y. Women’s distress after cesarean section. J Nurs Sci S1. 2009;27(2):28-38.
(in Thai)

5. Ghana S, Hakimi S, Mirghafourvand M, Abbasalizadeh F, Behnampour N. Randomized control trial of abdominal
binders for postoperative pain, distress, and blood loss after cesarean delivery. Int J Gynecol Obstet. 2017; 137(3):
271-6.

6. Melzack R, Wall PD. Pain mechanism: a new theory. Science. 1965;150(3669):971-9.

7. Kolcaba K. Comfort theory and practice: a vision for holistic health care and research. New York: Springer;
2003.

8. Kamolwit S, Rattanapathumwong P. Development of clinical practice guidelines for pain management in postoperative patients in Ranong hospital. Journal of Nursing Division. 2014;40(2):23-40. (in Thai)

9. Chang K. Dimensions and indicators of patients’ perceived nursing care quality in the hospital setting. J Nurs Care Qual. 1997 Aug;11(6):26-37.

10. Glass GV, McGaw B, Smith ML. Meta-analysis in social research. Sage: Beverly Hills; 1981.

11. Kusuwan N. An effect of using Nuanjan Belly Band on comfort of women after caesarean section; 2012 [cited
2017 May 1]. Available from: https://www.gj.mahidol. ac.th/tech/FileDownload/File/D150511175633.pdf
(in Thai)

12. Cohen J Z. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum
Associates, Publishers; 1998.

13. Mc Caffery M, Beebe A. Pain: clinical manual for nursing practice, Mosby St. Louis, MO; 1989.

14. Multilevel mixed-effects linear regression. StataCorp. Stata Statistical Software: Release 15. College Station,
TX: StataCorp LP; 2017. p. 514-45.

15. Nair A, Devi S. Obstetric outcome of teenage pregnancy in comparison with pregnant women of 20-29 years: a
retrospective study. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol. 2015;52(3):229-34.

16. Biro MA, Davey MA, Carolan M, Kealy M. Advanced maternal age and obstetric morbidity for women giving
birth in Victoria. Australia: a population-based study. Aust NZJ Obstet Gynaecol. 2012;52(3): 229-34.

17. Wylie BJ, Gilbert S, Landon MB, Spong CY, Rouse DJ, Leveno KJ, et al. Comparison of transverse and vertical
skin incision for emergency cesarean delivery. Obstet Gynecol. 2010;115(6):1134-40.

18. Maaloe N, Aabakke AJM, Secher NJ. Midline versus transverse incision for cesarean delivery in low-income
countries. Int J Gynecol Obstet. 2014;125:1-2.

19. Szender JB, Hall KL, Kost ER. A randomized-clinical trial examining a neoprene abdominal binder in gynecologic
surgery patients. Clin Exp Obstetrics Gynecology. 2014;41(5):525-9.