การเปรียบเทียบการวัดพื้นที่แผล 3 วิธี: โฟโต อป อิมเมจเจ และวิสิเทรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแตกต่างของพื้นที่แผล
ที่ประเมินด้วยวิธีวาดเส้นขอบแผลบนแผ่นใสกับวิธีถ่ายภาพแผลซึ่งวัดพื้นที่ด้วยโปรแกรม
โฟโตชอปและโปรแกรมอิมเมจเจ โดยใช้เครื่องวัดพื้นที่แผลวิสิเทรคเป็นมาตรฐาน เปรียบเทียบ
การวัดพื้นที่แผลด้วยโปรแกรมโฟโตชอปและโปรแกรมอิมเมจเจ ใช้ผู้ประเมินแผล 2 คนในการ
เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นบาดแผลชนิดปากแผลเปิดซึ่งไม่มีผิวหนังปกคลุมจำนวน 45 แผล
ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือน
มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2557 ทดสอบความสอดคล้องในการประเมินพื้นที่แผล
ระหว่างผู้ประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในกลุ่มและเปรียบเทียบความแตกต่างของ
พื้นที่แผลด้วยสถิติทดสอบฟรีดแมนและการทดสอบวิลคอกซัน ผลการศึกษาพบว่า ความ
สอดคล้องในการประเมินพื้นที่แผลระหว่างผู้ประเมิน 2 คนมีค่าสูง (ICC = .99-1.00) การ
ประเมินพื้นที่แผลด้วยวิธีการวาดเส้นขอบแผลบนแผ่นใสแล้ววัดพื้นที่ด้วยโปรแกรมโฟโตชอปได้
ขนาดแผลไม่แตกต่างกับที่วัดพื้นที่ด้วยวิสิเทรค แต่เล็กกว่าที่วัดด้วยโปรแกรมอิมเมจเจ
ทั้งโปรแกรมโฟโตชอปและโปรแกรมอิมเมจเจ วัดพื้นที่แผลที่ประเมินด้วยวิธีถ่ายภาพได้ขนาด
พื้นที่เล็กกว่าที่ประเมินด้วยวิธีวาดเส้นขอบแผลบนแผ่นใส อย่างไรก็ตาม ในแผลขนาดเล็กที่
ประเมินด้วยวิธีถ่ายภาพ โปรแกรมโฟโตชอปวัดพื้นที่แผลได้ขนาดไม่แตกต่างกับโปรแกรมอิมเมจเจ
และไม่แตกต่างกับพื้นที่แผลที่ประเมินด้วยวิธีวาดเส้นขอบแผลบนแผ่นใสแล้ววัดพื้นที่ด้วย
วิสิเทรค ผลการศึกษาเสนอแนะให้ประเมินพื้นที่แผลแบบเป็นปรนัยด้วยวิธีถ่ายภาพและวัดพื้นที่
ด้วยโปรแกรมโฟโตชอป
คำสำคัญ: ขนาดแผล การวาดเส้นขอบแผลบนแผ่นใส การถ่ายภาพแผล โฟโตชอป อิมเมจเจ วิสิเทรค
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น
References
technique. Arch Phys Med Rehabil. 2006;87:1396-1402.
2. Sheehan P, Jones P, Caselli A, Giurini J, Veves A. Percent change in wound area of diabetic foot ulcers over a 4-week period is a robust predictor of complete healing in a 12 week prospective trial. Diabetes Care. 2003;26(6):1879-
82.
3. Hammond CE. The ARANZ Medical SilhouetteTM: an innovative wound measurement and documentation
system. Acute Care Perspectives. 2008; Summer:12-5.
4. Little C, McDonald J, Jenkins MG, McCorron P. An overview of techniques used to measure wound area and
volume. J Wound Care. 2009;18(16):250-3.
5. Shaw J, Hughes CM, Lagan KM. An evaluation of three wound measurement techniques in diabetic foot wounds.
Diabetes Care. 2007;30(10):2641-2.
6. Chang AC, Dearman B, Greenwood JE. A comparison of wound area measurement techniques: Visitrak versus
photography. EPlasty. 2011;11:158-66.
7. Li PN, Li H, Wu ML, Wang SY, Kong QY, Zhen Z. et al. A cost-effective transparency-based digital imaging
for efficient and accurate wound area measurement. PLoS One. 2012;7(5):e38069. doi:10.1371/journal.pone.
0038069
8. Junorn T, Kanogsunthorntrat N, Orathai P. Validity of wound surface area measurement methods. Rama Nurs J.
2014;20(3):314-23. (in Thai)
9. Sugama J, Matsui Y, Sanada H, Konya C, Okuwa M,Kitagawa A. A study of the efficiency and convenience of
an advanced portable wound measurement system (VisitrakTM). J Clin Nurs. 2007;16:1265-9.
10. Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social,
behavioral, and biomedical science. Behav Res Methods. 2007;39(2):175-91.
11. van Zuijlen, PPM, Angeles AP, Suijker MHK Reis RW,Middelkoop E. Reliability and accuracy of practical
techniques for surface area measurements of wounds and scars. Int J Low Extrem Wounds.2004;3(1):7–11.
12. Portney LG, Watkins MP. Foundations of clinical research:applications to practice. 3rd ed. Upper Saddle River:
Pearson/Prentice Hall; 2015.
13. Harris-Love MO, Seamon BA, Teixeira C, Ismail C.Ultrasound estimates of muscle quality in older adults:
reliability and comparison of Photoshop and Image J for the grayscale analysis of muscle echogenicity. Peer J.
2016;4:e1721. doi:10.7717/ peerj.1721.
14. Stockton KA, McMillian CM, Storey KJ, David MC,Kimble RM. 3D photography is as accurate as digital
plainmetry tracing in determining burn wound area. Burns.2015;41:80-4.
15. Bhedi A , Saxena AK Gadani R, Patel R. Digital photography and transparency-based methods for
measuring wound surface area. Indian J Surg.2013;75(2):111–14. doi:10.1007/s12262-012-0422-y
16. Tang XN, Berman AE, Swanson RA, Yenari MA. Digitally quantifying cerebral hemorrhage using Photoshop and
Image J. J. Neurosci. Methods. 2010;190(2):240–3.