การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของแบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลเอกชน ตัวอย่างคือ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น จำนวน 242 ราย จากโรงพยาบาลเอกชน 19 แห่ง เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของเดอจองและฮาร์ท็อก แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีข้อคำถาม 17 ข้อ วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาจากคณะผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาตามเกณฑ์ เช่นเดียวกับค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ และค่าอำนาจจำแนกการวัดความตรงเชิงโครงสร้าง ใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลเอกชน ประกอบด้วย ข้อคำถามจำนวน 16 ข้อ มีองค์ประกอบของแบบวัดจำนวน 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) พฤติกรรมการสำรวจความคิดเพื่อการสร้างนวัตกรรม มี 5 ตัวชี้วัด 2) พฤติกรรมการก่อเกิดความคิดด้านนวัตกรรม มี 3 ตัวชี้วัด 3) พฤติกรรมการทำให้เกิดการยอมรับความคิดด้านนวัตกรรม มี 4 ตัวชี้วัด และ 4) พฤติกรรมการนำความคิดลงสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างนวัตกรรมมี 4 ตัวชี้วัด แต่ละองค์ประกอบของแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นที่ดี ผลการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าองค์ประกอบของแบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนากำหนดแบบวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของผู้บริหารระดับต้นในองค์กรพยาบาลได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น
References
Sun Q, Thungjaroenku P, Supamanee T. Transformational leadership of head nurses and team potency in university hospitals, Shanghai, The People’s Republic of China. Nursing Journal. 2018;45(3):136-49. (in Thai)
De Jong J, Den Hartog D. Innovative work behavior:measurement and validation. Scientific analysis of
Entrepreneurship and SMEs; 2008.
De Jong J, Den Hartog D. Measuring innovative work behavior. Creativity and Innovation Management. 2010;
:23–36.
Bandansin J. Develop the creativity toward the nursing service. Journal of the Royal Thai Army Nurses.
;15(3): 9-17. (in Thai)
Contreras F, Espinosa CJ, Dornberger U, Cuero Acosta Y.A. Leadership and employees’ innovative work
behavior: test of a mediation and moderation model. ASS.2017;13(9): 9-25.
Deephaisarnsakul P. Strategic development of private hospitals to be corporate governance. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 2015;(8)3:229-43. (in Thai)
Khungtumneum K. Nursing service innovation. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2011;22(2):71-9. (in
Thai)
Kunaviktikul W. Teaching and learning in the discipline of nursing in the 21st century. Nursing Journal.
;42(2):152-56. (in Thai)
Chumkesornkulkit P, Na Wichian S. Innovative work behavior: concept, antecedents and challenges. JBSD.
;10(1):25-41. (in Thai)
Bagheri A, Akibari M. The impact of entrepreneurial leadership on nurses’ innovation behavior. J Nurs
Scholarsh. 2018;50(1):28-35. doi: 10.1111/jnu.12354. Epub 2017 Oct 12.
Lukes M, Stephan U. Measuring employee innovation: a review of existing scales and the development of the
innovative behavior and innovation support inventories across cultures. Int J Entrepreneurial Behav Res.
;23(1):136-58.
Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2014.
Gubta KK, Attri JP, Singh A, Kaur H, Kaur G. Basic concepts for sample size calculation: critical step for any
clinical trials. Saudi J Anaesth. 2016;10(3): 328-31.
Brislin RW. Research instruments. Field methods in crosscultural research: cross-cultural research and methodology series. 1986;8:137-64.
Jacox AK, Webster G. Competing theory of science. In Nicoll LH. (Ed.). Perspective in nursing theory. Boston:
Little Brown; 1986.
Polit DF, Beck CT. Nursing research. Generating and assessing evidence for nursing practice. Wolters Kluwer
Health, Philadelphia; 2017.