Panitumumab ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
บทคัดย่อ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้ สามารถเกิดได้จากพันธุกรรมการมีภาวะอักเสบของลำไส้ สภาวะแวดล้อม หรือการบริโภค การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการผ่าตัด รังสีรักษา หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามนั้น พบว่าการรักษาโดยการใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน รวมถึงการให้ยาเพื่อรักษาแบบมุ่งเป้า มีบทบาทสำคัญ และมีประสิทธิภาพในการเพิ่ม overall survival หรือ progression-free survival ให้แก่ผู้ป่วยได้
Panitumumab เป็น recombinant human monoclonal immunoglobulin G2 antibody ในกลุ่มยาที่มีฤทธิ์รักษาแบบมุ่งเป้า ออกฤทธิ์เป็น anti-epidermal growth factor receptor ใช้เป็นยารักษาเดี่ยว หรือร่วมกับยาเคมีบำบัดมาตรฐานที่ประกอบด้วย oxaliplatin หรือ irinotecan ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย ชนิด rat sarcoma wild-type ทั้งนี้พบว่ามีประสิทธิภาพทั้งใน first line หรือ second line ของการรักษา ขนาดของยา panitumumab ที่มีการแนะนำคือ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมนํ้าหนักตัว ให้ยาทุกๆ 2 สัปดาห์ มีรายงานอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อยคือ การเกิดปฏิกิริยาจากการหยดยา และปฏิกิริยาผื่นทางผิวหนัง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ